8-พัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
พัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
การเมืองการปกครอง
สถาบันพระมหากษัตริย์
การปกครองของไทยในสมัยอยุธยา เปลี่ยนแปลงต่างไปจากสุโขทัยเพราะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากเขมร (ขอม) เข้ามามาก
โดยเฉพาะลัทธิเทวราช ซึ่งเขมรรับมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง ลัทธินี้องค์พระมหากษัตริยืทรงเป็นสมมุติเทพอยู่เหนือบุคคลสามัญ ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุด ทรงไว้ซึ่งอาญาสิทธิ์เหนือผู้อื่นทั้งปวงในอาณาจักร คือ นอกจากจะทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินแล้ว ยังทรงเป็น เจ้าของชีวิตราษฎรอีกด้วย
พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา จึงมีฐานะแตกต่างจากพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยอย่างมาก เช่น การเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ ต้องหมอบคลานแสดงความอ่อนน้อม การพูดกับพระมหากษัตริย์ต้องใช้ราชาศัพท์ เมื่อเสด็จออกนอกพระราชวังราษฎรต้องหมอบกราบและก้มหน้า มีกฎมณเฑียรบาลห้ามมองพระพักตร์ของพระมหากษัตริย์ เนื่องจากพระองค์เป็นสมมุติเทพและเพื่อการป้องกันการทำร้ายพระองค์
สิ่งเหล่านี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับประชาชนห่างเหินกัน ความใกล้ชิดแบบบิดาปกครองบุตรแบบสุโขทัยจึงน้อยลงทุกขณะ
นอกจากนี้ยังมีระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์และราชบัลลังก์อีก เช่น ให้ถือเขตพระบรมมหาราชวัง เป็นเขตหวงห้ามสำหรับประชาชนสามัญ มีการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด มีนายประตูดูแลตลอดเวลา มีมาตราป้อนกันมิให้เจ้าเมือง ลูกขุน ราชบุตร ราชนัดดาติดต่อกัน ต้องการให้แต่ละบุคคลแยกกันอยู่ เป็นการแยกกันเพื่อปกครอง มิให้มีการรวมกันได้ง่ายเพราะอาจคบคิดกันนำภัยมาสู่บ้านเมืองหรือราชบัลลังก์ได้
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ. 1893 – 1991
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เป็นรูปแบบการปกครองที่ได้รับอิธิพลจากเขมรและสุโขทัยในลักษณะต่อไปนี้
1.การปกครองส่วนกลาง จัดการบริหารแบบจตุสดมภ์ หมายถึง การที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นกรมสำคัญ 4 กรม ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้
กรมเวียง หรือ กรมเมือง มีขุนเวียงเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร
กรมวัง มีขุนวังเป็นหัวหน้าดูแลรักษาพระราชวัง จัดงานพระราชพิธีต่างๆ และพิจารณาพิพากษาคดี
กรมคลัง มีขุนคลังเป็นหัวหน้า รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศทั่วราชอาณาจักร ด้านการเงินทำหน้าที่เก็บภาษีอากรใช้จ่ายพระราชทรัพย์ จัดแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย ในด้านต่างประเทศทำสัญญาการค้าและติดต่อทางการทูตกับต่างประเทศ
กรมนา มีขุนนาเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นาทั่วราชอาณาจักร และจัดเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอในยามบ้านเมืองมีศึกสงคราม
2. การปกครองส่วนภูมิภาค การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค จัดตามแบบอาณาจักรสุโขทัย เพราะเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่เคยอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยมาก่อน มีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง เมืองต่างๆ จัดแบ่งออกดังนี้
เมืองหน้าด่าน หรือ เมืองป้อมปราการ เป็นเมืองที่มีความสำคัญในการป้องกันราชธานี ระยะทางไปมาระหว่างเมองหน้าด่าน กับราชธานีใช้เวลาเดินทางภายใน 2 วัน มักเป็นเมืองใหญ่หรือเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศสตร์ พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งพระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง บางที่จึงเรียกว่า เมืองลูกหลวง
หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองที่อยู่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไป พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางไปปกครองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง
หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร เป็นเมืองขนาดใหญ่ ที่มีประชาชนคนไทยอาศัย อยู่ห่างจากราชธานีต้องใช้เวลาหลายวันในการติดต่อ มีเจ้าเมืองปกครอง อาจเป็นผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองเดิม หรือเป็นผู้ที่ทางเมืองหลวงต่างตั้งไปปกครอง
เมืองประเทศราช เป็นเมืองที่อยู่ชายแดนของอาณาจักร ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติต่างภาษา มีเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่นจัดการปกครองภายในของตนเอง แต้องส่งเครื่องบรรณาการมาถวายตามกำหนด ได้แก่ ยะโฮร์ เขมร และเชียงใหม่ (ล้านนา)
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง พ.ศ. 1991 – 2072
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 1991 – 2031) พระองค์ทรงปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่ เพราะเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังหละหลวม กรุงศรีอยุธยาควบคุมดูแลเมืองในส่วนภูมิภาคได้ไม่ทั่วถึง บรรดาเมืองต่างๆ เบียดบังรายได้จากภาษีอากรไว้ ทำให้ราชธานีได้รับผลประโยชน์ ไม่เต็มที่ นอกจากนั้นในระยะที่มีการผลัดแผ่นดิน หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงเข้มแข็ง มีอำนาจ ก็จะไม่มีปัญหาทางการปกครอง แต่หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงอ่อนแอไม่เด็ดขาดหรือยังทรงพระเยาว์อยู่ บรรดาเมืองประเทศราช และเมืองพระยามหานคร มักฉวยโอกาสแยกตนเป็นอิสระอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เจ้าเมืองมีอำนาจมากและมักจะยกกำลังทหารทหารเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติอยู่เนืองๆ และอาณาจักรอยุธยาในสมัยนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมากกว่าเดิม สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงต้องปรับปรุงการปกครองใหม่ มีลักษณะสำคัญสองประการ คือ จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ราชธานีมีอำนาจและมีการควบคุมเข้มงวดขึ้น และแยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน (เป็นครั้งแรก) สาระสำคัญที่เปลี่ยนไปมีดังนี้
1. การปกครองส่วนกลาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้มีตำแหน่งมุหกลาโหมและสมุหนายก สมุหกลาโหม รับผิดชอบด้านการทหาร มีหน้าที่บังคับบัญชาตรวจตราการทหาร เกณฑ์ไพร่พลในยามมีศึก ยามสงบรวบรวมผู้คน อาวุธ เตรียมพร้อม สมุหนายกทำหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักรและดูแลจดุสดมภ์ พระองค์ได้ทรงกำหนดหน่วยงานระดับกรม(เทียบได้กับกระทรวงในปัจจุบัน) ขึ้นอีก 2 กรม จึงมีหน่วยงานทางการปกครอง 6 กรม กรมใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมีเสนาบดีรับผิดชอบในหน้าที่ ดังนี้
กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัตรมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงกรมจตุสดมภ์เสียใหม่ ให้มีเสนาบดีรับผิดชอบงานในหน้าที่ของแต่ละกรม คือ
กรมเมือง มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
2.การปกครองส่วนภูมิภาค สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้ยกเลิกเมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง ให้จัดการปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค ดังนี้
หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองชั้นจัตวา ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า “ผู้รั้ง” ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง ต้องปฏิบัติตามคำ สั่งของราชธานี เป็นเมืองที่ตั้งอยู่โดยรอบราชธานี เช่น ชัยนาท นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี เป็นต้น พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยาไปทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง
หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่เมืองที่อยู่ถัดจากหัวเมืองชั้นในออกไป (ซึ่งเป็นเมืองพระยามหานครในสมัยก่อน)จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของเมืองนั้นๆ อาจมีเมืองเล็กขึ้นด้วยพระมหากษัตริย์ทารงแต่งตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์หรือขุนนางผู้ใหญ่ออกไปปกครองเป็นเจ้าเมือง มีอำนาจเต้มในการบริหารราชการภายในเมือง
เมืองประเทศราช โปรดฯ ให้มีการจัดการปกครองเหมือนเดิม คือให้มีเจ้านายในท้องถิ่น เป็นเจ้าเมือง หรือกษัตริย์ มีแบบแผนขนอบธรรมเนียมเป็นของตนเอง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้ทรงแต่งตั้ง เมืองประเทศราชมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. 2072 – 2310
การจัดการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางรากฐานไว้คงใช้มาตลอดแต่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพบ้านเมืองยิ่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (พ.ศ. 2199 – 2231) ทรงให้ยกเลิกการแยกความรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดีเกี่ยวกับงานด้านพลเรือนของสมุหนายก และงานด้านทหารของสมุหกลาโหม โดยให้สมุหกลาโหมรับผิดชอบ
ทั้งด้านทหารและพลเรือน ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและหัวเมืองอีสาน ส่วนหัวเมืองตอนกลาง และหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ให้อยู่ในอำนาจของเมืองหลวงโดยตรง ทั้งนี้ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่าการแยกกิจการฝ่ายทหารและฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนจากกันอย่างเด็ดขาด ไม่อาจทำได้อย่างได้ผลดี โดยเฉพาะในยามสงคราม บ้านเมืองต้องการกำลังพลในการสู้รบจำนวนมาก ชายฉกรรจ์ต้องออกรบเพื่อชาติบ้านเมืองทุกคนจึงเป็นการยากในทางปฏิบัติ อีกประการหนึ่ง มีบทเรียนที่แสดงให้เห็นว่า เมื่อให้สมุหกลาโหมคุมกำลังทหารไว้มากทำให้สามารถล้มราชวงศ์กษัตริย์ลงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น