วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

17-บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา

17-บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา


บุคคลสำคัญสมัยอยุธยา
  • การที่ประเทศไทยของเราสามารถดำรงอยู่ได้อย่างน่าภาคภูมิใจในสังคมโลกปัจจุบันนี้ได้นั้น ก็เพราะว่าแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมาเราคนไทยมีบรรพบุรุษที่มีความกล้าหาญเสียสละในการปกป้องและ สร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและสังคมมาโดยตลอด ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและชาวบ้านบางระจัน เป็นตัวอย่างของพระมหากษัตริย์และประชาชน สมัยอยุธยาที่ทำประโยชน์ต่อบ้านเมือง อันสมควรที่เยาวชนคนไทยทั้งหลายจะยกย่องสรรเสริญ และยึดถือเป็นแบบอย่าง
                       
อนุสาวรีย์วีรชนชาวบ้านบางระจัน

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ.2133 - 2148)

  • สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระอัจฉริยะบุคคลอย่างเต็มภาคภูมิ ในยุคสมัยของพระองค์ ทรงเป็นนักการทหารที่มีพระปรีชาสามารถสูงเยี่ยม จนเป็นที่เล่าขานของคนร่วมสมัยทั่วไป พระองค์เป็นสัญลักษณ์ของความเด็ดเดี่ยว กล้าเผชิญปัญหา ที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งคือ ทรงเป็นแบบฉบับของนักการปกครอง ที่ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินไทย โดยคำนึงถึงความสุขสบาย ส่วนพระองค์เลย จนวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ


พระราชประวัติ


  • พระนเรศวรทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิ์กษัตรี ประสูติที่เมืองพิษณุโลกเมื่อ พ.ศ. 2098 ทรงมีพระพี่นางหนึ่งองค์และพระอนุชาผู้ซึ่งครองราชย์ สมบัติต่อมาคือ สมเด็จพระเอกาทศรถ
  • พระนเรศวรถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่เมืองพะโค(หงสาวดี) เมื่อพระชนมายุ 9 พรรษา ในคราวที่พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่า ยกทัพมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือและยึดเมืองพิษณุโลกไว้ได้และต่อมาก็ตีกรุงศรีอยุธยาได้ในปี พ.ศ. 2112 พระมหาธรรมราชาธิราชได้ขึ้นครองราชย์สมบัติในฐานะเมืองขึ้นของพม่า
  • สมเด็จพระนเรศวรได้เสด็จกลับมากรุงศรีอยุธยา เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา โดยได้รับการ สถาปนาให้เป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก มีตำแหน่งในฐานะอุปราชหรือวังหน้า เมื่อพระราชบิดาเสด็จ สวรรคต พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์สมบัติขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา
  • ทรงเสด็จสวรรคตที่เมืองฉาง รัฐฉานในพม่า เมื่อ พ.ศ. 2148 พระชนมพรรษาได้ 50 พรรษา พระอนุชาคือพระเอกาทศรถได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบต่อมาพระเกียรติคุณ
  • สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ "วีรกษัตริย์" หรือในพระนาม "พระองค์ดำ" ทรงพระปรีชาสามารถในการสงครามและการปกครอง อีกทั้งพระองค์ยังเป็นนักการต่างประเทศที่ทรงพระปรีชาสามารถในการดำเนินนโยบายอย่างกล้าหาญอีกด้วย
  • ในช่วงที่เสด็จกลับมาจากพม่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมอบหมายให้พระองค์เสด็จไปปกครองหัวเมืองเหนือ โดยประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ในระยะเวลา 14 ปีที่ทรงปกครองหัวเมืองเหนือนั้นพระองค์ดำเนินการหลายอย่าง ที่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการสงครามกอบกู้เอกราช เช่น ฝึกทหาร รวบรวมกำลังคนที่หลบหนีพม่าเข้าป่า ฝึกฝนยุทธวิธีการรบต่าง ๆ
  • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการช่วยกษัตริย์พม่ารบหลายครั้ง เช่น การปราบเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองดังได้สำเร็จ ทำให้เป็นที่ไม่ไว้วางใจของพม่าและวางแผนที่จะลอบปลง พระชนม์ แต่พระองค์ทรงล่วงรู้ถึงแผนการเสียก่อน ดังนั้นพระองค์จึงทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127

พระเกียรติคุณ

  • สมเด็จพระนเรศวรทรงเป็นที่รู้จักในฐานะ "วีรกษัตริย์" หรือในพระนาม "พระองค์ดำ" ทรงพระปรีชาสามารถในการสงครามและการปกครอง อีกทั้งพระองค์ยังเป็นนักการต่างประเทศที่ทรงพระปรีชาสามารถในการดำเนินนโยบายอย่างกล้าหาญอีกด้วย
  • ในช่วงที่เสด็จกลับมาจากพม่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมอบหมายให้พระองค์เสด็จไปปกครองหัวเมืองเหนือ โดยประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก ในระยะเวลา 14 ปีที่ทรงปกครองหัวเมืองเหนือนั้นพระองค์ดำเนินการหลายอย่าง ที่เป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการสงครามกอบกู้เอกราช เช่น ฝึกทหาร รวบรวมกำลังคนที่หลบหนีพม่าเข้าป่า ฝึกฝนยุทธวิธีการรบต่าง ๆ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในการช่วยกษัตริย์พม่ารบหลายครั้ง เช่น การปราบเจ้าฟ้าไทยใหญ่เมืองคังได้สำเร็จ ทำให้เป็นที่ไม่ไว้วางใจของพม่าและวางแผนที่จะลอบปลง พระชนม์ แต่พระองค์ทรงล่วงรู้ถึงแผนการเสียก่อน ดังนั้นพระองค์จึงทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าที่เมืองแครง ในปี พ.ศ. 2127 

ด้านการปกครอง

  • เมื่อขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระนเรศวรได้เริ่มขยายอำนาจไปยังเมืองต่าง ๆ เช่น ล้านช้าง  เชียงใหม่  ลำปางและกัมพูชาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยา 
  • เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการศึกสงครามหลายครั้ง รวมทั้งความพยายามฟื้นฟูอยุธยาหลังจากที่ถูก ปกครองโดยพม่า ทำให้พระองค์ทรงดำเนินนโยบายการปกครองที่เน้นระเบียบวินัยเข้มงวด 
  • นอกจากนี้ ทรงดำเนินนโยบายการปกครองแบบดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยส่งขุนนางออกไปปกครองเมือง สำคัญต่าง ๆ เช่น เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย

การขยายแสนยานุภาพทางการทหาร


  • สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำศึกสงครามเพื่อปกป้องบ้านเมืองตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์สมบัติ และเกือบตลอดรัชสมัยที่ทรงครองราชย์ ทั้งการสงครามกับพม่าและเขมรที่ยกกองทัพเข้ามารุกราน หัวเมืองของอาณาจักรอยุธยา ดังที่ชาวต่างชาติชาวฮอลันดาที่เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาได้พรรณนา เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชว่า ทรงเป็นนักรบที่เก่งกาจ เป็น "วีรบุรุษนักรบ" ทรงรบชนะข้าศึก หลายครั้งและในหลายดินแดน

การขยายอำนาจทางการทหารของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

  • ทำให้เขตแดนอาณาจักรอยุธยา แผ่ขยายออกไปกว้างไกลที่สุดนับแต่สถาปนาอาณาจักรขึ้นมา ครอบคลุมทั้งเขตแดนมอญ พม่า ล้านนา ไทยใหญ่ ล้านช้างและเขมร พระองค์ทรงอุทิศเวลาตลอดรัชสมัยในการทำสงครามเสริมสร้างความมั่นคงและความยิ่งใหญ่ให้กับอยุธยา จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ

เหตุการณ์สงครามยุทธหัตถี


  • พ.ศ. 2135 กองทัพพม่าโดยพระมหาอุปราชาพระโอรสของพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง เป็นแม่ทัพ คุมไพร่พลจำนวน 240,000 คน มาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพออกไป รับศึกที่บ้านหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี สงครามครั้งนี้มีความสำคัญและเป็นที่เลื่องลือในการสู้รบระหว่างสองอาณาจักร นั้นคือสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแม่ทัพพม่า ที่บ้านหนองสาหร่าย สุพรรณบุรี และทรงใช้พระแสงของ้าวฟัน์ พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์บนคอช้าง ทัพพม่าแตกพ่ายกลับไปและหลังจากสงครามครั้งนี้กรุงศรีอยุธยาว่างเว้นการสงครามกับพม่าเป็นเวลานานมากกว่า 150 ปี

ด้านการต่างประเทศ

  • สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพยายามรักษาความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศทั้งด้านการฑูต และการค้า พระองค์ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการค้านานาชาติเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการค้าทางทะเลเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจอยุธยาซึ่งได้รับความเสียหายจากสงคราม
  • การฟื้นฟูกรุงศรีอยุธยา ประการหนึ่งของพระองค์ก็คือ ทรงอนุญาตให้พ่อค้าชาวต่างชาติโดยเฉพาะพ่อค้าตะวันตกเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา ชาวต่างชาติที่เข้ามาในรัชสมัยนี้ คือ ชาวดัตซ์หรือฮอลันดา พระองค์ทรงโปรด ฯ ให้ฮอลันดาเข้ามาตั้งสถานีการค้าที่อยุธยาและเมืองอื่น ๆ เช่น ภูเก็ต นครศรีธรรมราช สงขลา


สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

พระราชประวัติ


  • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิบดีที่ 2 (เจ้าสามพระยา) กับพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย  พระองค์จึงเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณบุรีและราชวงศ์พระร่วง  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของอยุธยา    


พระราชกรณียกิจที่สำคัญ  

1. การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยา

  • เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นเสวยราชย์ใน พ.ศ. ๑๙๙๑ นั้น ทางสุโขทัยไม่มีพระมหาธรรมราชาปกครองแล้ว คงมีแต่พระยายุทธิษเฐียร  พระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ ๔   ได้รับแต่งตั้งจากอยุธยาให้ไปปกครองเมืองพิษณุโลก ถึง พ.ศ. ๑๙๙๔  พระยายุทธิษเฐียรไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา  พระราชมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ปกครองเมืองพิษณุโลกต่อมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๐๐๖  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จไปประทับที่พิษณุโลกและถือว่าอาณาจักรสุโขทัยถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


2. ด้านการปฏิรูปการปกครอง


  • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระประสงค์ที่จะดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางหรือราชธานี  จึงลดบทบาทของเจ้านายลงและเพิ่มอำนาจให้ขุนนาง  เพื่อป้องกันการแย่งชิงอำนาจจากเชื้อพระวงศ์ เช่น ลดฐานะเมืองลูกหลวง เมืองหลานหลวงลงเป็นเมืองชั้นจัตวาและส่งขุนนางไปปกครองแทนเจ้านาย มีการแยกฝ่ายทหารและพลเรือนโดยใช้ขุนนางตำแหน่งสมุหพระกลาโหมดูแลกิจการฝ่ายทหาร  สมุหนายกดูแลกิจการฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักร 
  • ทรงตรากฎมนเทียรบาลขึ้นเพื่อความมั่งคงของสถาบันกษัตริย์  นอกจากนี้ยังทรงตราพระราชกำหนดศักดินาได้แก่  พระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระอัยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง   พ.ศ. ๑๙๙๘  เพื่อประโยชน์ในการลำดับชั้นของบุคคลว่ามีศักดิ์ สิทธิ์ และอำนาจหน้าที่ต่างกันอย่างไร  เป็นการจัดระเบียบการปกครองให้มีแบบแผนรัดกุมกว่าเดิม
  • ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ อยุธยาทำสงครามยืดเยื้อกับอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีพระเจ้าติโลกราชเป็นกษัตริย์ (ครองราชย์ พ.ศ. ๑๙๘๔ - ๒๐๓๐)  ทำให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถประทับที่เมืองพิษณุโลกนานถึง ๒๕ ปี  เพื่อดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเพื่อความสะดวกในการป้องกันการรุกรานของล้านนา  ในระยะนี้จึงถือว่าเมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นราชธานีของอาณาจักรอยุธยา
  • สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตใน พ.ศ. 2031  ทรงอยู่ในราชสมบัติ 40 ปี นับว่านานที่สุดในบรรดากษัตริย์อยุธยาทุกพระองค์

16-ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

16-ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา

  • ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา
  • ภูมิปัญญา  หมายถึง  ความรู้  ทักษะ  ความเชื่อ  และพฤติกรรมของคนไทย  โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน  คนกับธรรมชาติ  การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของบุคคล  ชุมชนและสังคม  ตลอดจนพื้นฐานความรู้เรื่องต่าง  ๆ  ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง 
  • ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

ภูมิปัญญาด้านศาสนาและความเชื่อ


  • พระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูมีบทบาทต่อการวางรากฐานระบบการเมืองบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นคติความเชื่อนี้ได้หล่อหลอมสังคมอยุธยาให้เป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดจากความเหมาะสม ทางสภาพภูมิศาสตร์และความรู้ที่สะสมมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษทำให้อยุธยาเป็นแหล่งเพาะปลูก 
  • โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งการปลูกข้าวถือเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของคนอยุธยาที่รู้จักคัดเลือก พันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศที่น้ำท่วมถึง คือข้าวพันธุ์พิเศษนอกจากนี้ชาวอยุธยารู้จักปลูกต้นไม้ผลไม้ในบริเวณที่เป็นคันดินธรรมชาติ (Natural Levee) ที่ขนานไปกับแม่น้ำลำคลองผลไม้เหล่านี้ได้รับปุ๋ยธรรมชาติทำให้มีรสชาติอร่อย พระพุทธศาสนาได้หยั่งรากลึกอยู่ในสังคมอยุธยา
  • ผู้มีความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาย่อมเชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ทำให้พ้นทุกข์เนื่องจากมนุษย์ต้องเวียนว่าย ตายเกิดอันเกิดจากกฎ แห่งกรรมและเรื่องนรก สวรรค์ นอกจากนี้ยังเชื่อในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่ว่าทุกสิ่งคืออนิจจังภูมิปัญญา
  • จากความเชื่อนี้ทำให้ชาวอยุธยาสามารถ เผชิญกับปัญหาความทุกข์ยากต่างๆในชีวิตได้ด้วยความอดทน นอกจากนี้การที่สังคมอยุธยาเป็นสังคมนานาชาติที่มีคนต่างชาติต่างศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยพระมหากษัตริย์อยุธยาทรงอนุญาตให้ปฏิบัติพิธีกรรมและเผยแผ่ศาสนาได้โดยเสรี ความเป็นสังคมนานาชาติเกิดจากความเข้าใจและเห็นคุณค่าขันติธรรมในเรื่องศาสนาภูมิปัญญาด้านศาสนาทำให้คนอยุธยาหลักในการดำเนิน   ชีวิตเพื่อความสุขขิงตนเองและการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม 
  • ภูมิปัญญาในสมัยอยุธยาสามารถประยุกต์ใช้ในสังคมปัจจุบัน คือ การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการนำเทคโนโลยีบางอย่างที่เหมาะสมมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและความอดทนเข้าใจผู้อื่นที่มีเชื้อชาติ ศาสนาหรือมีความคิดแตกต่างกับตนเอง โดยมุ่งทำให้สังคมมีความสงบสุข
 ภูมิปัญญาด้านการประกอบอาชีพ


  • อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความรุ่งเรือง เศรษฐกิจของอยุธยามีทั้งที่ทำการเกษตรและการค้าภายใน ต่อมาจึงพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการค้ากับนานาชาติ ภูมิปัญญาในด้านเกษตรกรรมชาวสวนผลไม้อยุธยา ได้ปรับปรุงพันธุ์ผลไม้จนทำให้ผลไม้ที่มีชื่อเสียง 
  • ในปัจจุบันด้วยภูมิปัญญา ดังนี้อยุธยาจึงมีปริมาณอาหาร พอเพียงกับความต้องการ ของพลเมือง ทำให้สามารถพึ่งตนเองได้ เพราะอาหารหลัก คือ ข้าวสามารถปลูกเองได้ สำหรับพืชผักและกุ้ง หอย ปู ปลา หาได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไป
  • สภาพภูมิประเทศของอยุธยามีคูคลองเป็นจำนวนมาก ชาวอยุธยาใช้ประโยชน์จากคูคลองที่ปรียบเสมือนเป็นถนนให้เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นได้มีการคมนาคมการขุดคลองลัด เพื่อย่นระยะทางจากปากแม่น้ำ เช่น คลองลัดบางกอกใหญ่ เพื่อความสะดวกในการคมนาคมขนส่งตั้งแต่ยุคกลาง เป็นต้นมา อยุธยาส่งข้าวเป็นสินค้าหลักไปขายยังต่างแดนเช่น ที่เมืองจีน 
  • นอกจากนี้ความเหมาะสมของที่ตั้งอยุธยาไม่ห่างจากทะเลมากนักและมีสินค้าหลากหลายชนิด ทำให้พ่อค้าต่างชาติเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาทำให้อยุธยากลายเป็นเมืองท่านานาชาติโดยเฉพาะในพุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๓ พระมหากษัตริย์อยุธยา
  • โปรดคัดสรรชาวต่างชาติให้เข้ารับราชการ โดยเฉพาะหน่วยงานทางทหารและการค้าในด้านการค้าชาวต่างชาติ เหล่านี้มีความชำนาญทั้งด้านการค้าและการเดินเรือ มีความรู้ด้านภาษาและเข้าใจวัฒนธรรมของชาติที่อยุธยาติดต่อค้าขายด้วยการรับชาวต่างชาติเข้ารับราชการ แสดงถึงภูมิปัญญาของชาวอยุธยาที่รู้จักเลือก ใช้คนที่มีความชำนาญให้เป็นผู้รับผิดชอบงานต่างๆอยุธยาจึงสามารถขนส่งสินค้าบรรทุกสำเภาไปขายยังเมืองท่าดินแดนต่างๆได้โดยสะดวก
  • สำเภาอยุธยายังแสดงให้เห็นภูมิปัญญาไทย กล่าวคือพระมหากษัตริย์โปรดให้ต่อสำเภาโดยช่างชาวจีน เป็นเรือสำเภาประเภท ๒ เสา คล้ายกับสำเภาจีนซึ่งแล่นอยู่ตามทะเลจีนใต้ ใบเรือทั้งสองทำด้วยไม้ไผ่สานซึ่งหาได้ง่ายและมีน้ำหนักเบา ส่วนใบเรือด้านบนสุดและด้านหัวเรือใช้ผ้าฝ้ายซึ่งเป็นวัดุที่ชาวอยุธยาทอใช้ในครัวเรือนแต่วิธีการเป็นวิธีแบบชาวตะวันตกที่ช่วยให้สำเภาเร็วขึ้นสำหรับหางเสือของสำเภาเป็นไม้เนื้อแข็งคล้ายกับสำเภาจีน (ชนิดที่เดินทางไกล) แต่ทว่าหางเสือของสำเภาอยุธยา ได้เจาะรูขนาดใหญ่ไว้ ๓ รู แล้วสอดเหล็กกล้า ยึดติดกับลำเรือทำให้บังคับเรือได้ดีและมีความคงทน
  • นอกจากนี้บริเวณกาบเรือใช้น้ำมันทาไม้และใช้ยางไม้หรือสีทา ในส่วนของเรือที่จมน้ำโดยผสมปูนขาวเพื่อป้องกันเนื้อไม้และตัวเพลี้ยเกาะซึ่งทำให้เรือผุ สำเภาอยุธยานับเป็นภูมิปัญญาของคนอยุธยาที่ใช้เทคโนโลยีผสมกันระหว่างสำเภาจีนกับเรือแกลิออทของ ฮอลันดาเพื่อให้เรือวิ่งได้เร็วและทนทาน ภูมิปัญญาของชาวอยุธยาในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและการค้าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจ ของอยุธยามั่งคั่งรุ่งเรือง


ภูมิปัญญาด้านการตั้งถิ่นฐาน


  • การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยอดีตมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางภูมิศาสตร์ กล่าวคือ ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้แหล่งอาหารและในที่ซึ่งมีความปลอดภัยสำหรับอยุธยาตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มดินดอน สามเหลี่ยมเจ้าพระยาตอนล่างสภาพโดยทั่วไปของพื้นที่อุดมสมบูรณ์ สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการ ของชุมชน ขณะเดียวกันที่ตั้งของอยุธยายังตั้งอยู่ในบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยาลพบุรี ป่าสักไหลมาบรรจบกัน ทำให้ปลอดภัยและสามารถใช้แม่น้ำลำคลองเหล่านี้เป็นเส้นทางคม นาคมติดต่อค้าขายและเข้าถึงแหล่งทรัพยากร ที่มีอยู่มากมายในหัวเมืองอื่นๆทางหัวเมืองเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือตลอดจนอาณาจักรที่อยู่ลึกเข้าไปเช่นอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และพุกามได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ที่ตั้งของอยุธยาอยู่ห่างจากปากน้ำเจ้าพระยาประมาณ ๒๐๐  กิโลเมตรใช้เวลาประมาณ ๓ วัน  เพื่อล่องเรือจากราชธานีไปจนถึงปากน้ำ ดังนั้นเมื่อข้าศึกยกทัพมาทะเลจึงมีเวลาเตรียมพร้อม
  • สำหรับการป้องกันเมืองการที่อยุธยา ที่มีที่ตั้งซึ่งมีสภาพแวดล้อมเช่นนี้ทำให้อยุธยามีความปลอดภัยและมีอาหารอุดมสมบูรณ์
  • อย่างไรก็ตามสภาพภูมิประเทศของอยุธยา ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก จะมีน้ำท่วมขังกินเวลานานทำให้เป็นอุปสรรคต่อการตั้งถิ่นฐานแต่ชาวอยุธยาและผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างได้ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ปัญหาโดยการ 
  • ปลูกเรือนใต้ถุนสูงพ้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม เมื่อน้ำ ลดพื้นดินแห้งดีแล้วสามารถใช้ประโยชนจากบริเวณใต้ถุนเรือนซึ่งเป็นที่โล่งทำกิจกรรมภายในครัวเรือน เช่น จักสาน ทอผ้า เลี้ยงลูก หรือใช้สำหรับเก็บอุปกรณ์จับปลาและเครื่องมือมาทำนา  


 บ้านเรือนของชาวอยุธยามี ๒  ลักษณะคือ


  • ๑.เรือนชั่วคราวหรือเรือนเครื่องผูก  เป็นเรือนของชาวบ้านโดยทั่วไปสร้างด้วยไม้ไผ่หรือใบจากซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและสามารถรวบรวมกำลังคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านปลูกเรือนได้ไม่ยาก
  • ๒.เรือนถาวรหรือเรือนเครื่องสับ  เป็นเรือนของผู้มีฐานะ เช่น ขุนนางหรือเจ้านาย ซึ่งเป็นเรือนที่สร้างอย่างประณีตด้วยไม้เนื้อแข็งหนาแน่นและทนทานไม้เหล่านี้ได้จากป่าในหัวเมืองเหนือที่ใช้วิธีล่องลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยานอกจากเรือนยกพื้นสูงแล้วชาวอยุธยายังอาศัยอยู่ในเรือนอีกประเภทหนึ่งที่ไม่มีเสา พื้นเรือนติดน้ำแต่ลอยได้ คือเรือนแพ ที่สะดวกสำหรับการ เคลื่อนย้าย เรือนแพนี้ยังทำหน้าที่เป็นร้านค้าด้วยดังนั้นที่กรุงศรีอยุธยาจึงมีเรือนแพตั้งเรียงรายตามแม่น้ำ ลำคลอง ชาวอยุธยานอกจากจะปรับตนให้เข้ากับภูมิประเทศที่ประกอบด้วยแม่น้ำลำคลองแล้วยังใช้ภูมิปัญญาดัดแปลงแม่น้ำลำคลอง เพื่อใช้ป้องกันข้าศึกได้ด้วยตัวอย่างเช่น ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดสงครามระหว่างไทยกับพม่า จึงมีการเตรียมการโดยขยายขุดลอกคลองคูขื่อหน้าเพื่อให้อยู่ในสภาพที่รับศึกได้หรือการที่มหานาควัดท่าทราย ระดมชาวบ้านขุดคลองมหานาคเป็นคูป้องกัน พระนครชั้นนอกอีกชั้นหนึ่งเมื่อ พ.ศ.๒๐๘๖ เพื่อป้องกันศึกพม่า 
  • นอกจากที่กล่าวมาแล้ว สภาพภูมิประเทศที่เป็นมาน้ำลำคลองจำนวนมาก ทำให้ชาวอยุธยามีวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้เรือในการ คมนาคมเรือสำหรับชาวบ้านเป็นเรือที่ต่ออย่างง่ายๆ เช่นเรือขุดและเรือแจว  แต่คนในสมัยอยุธยามีภูมิปัญญาในการขุดเรือยาว  ที่พระมหากษัตริย์อยุธยาใช้เป็นเรือรบในการขนกำลังคนไปได้เป็นจำนวนมาก พระมหากษัตริย์เสด็จพยุหยาตราเพื่อเสด็จไปทำสงครามและไดพัฒนาเป็นกองทัพเรือ ในเวลาที่บ้านเมืองเป็นปกติพระมหากษัตริย์ทรงใช้เรือเหล่านี้เสด็จพระราชดำเนินในพิธีต่างๆ เช่นพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน โดยจัดขบวนเรือรบซึ่งเท่ากับเป็นการซ้อมรบโดยปริยาย

15-สังคมสมัยอยุธยา

15-สังคมสมัยอยุธยา

สังคมสมัยอยุธยา

สภาพสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา


  • สังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา แม้ว่าจะต่อเนื่องมาจากสังคมสมัยสุโขทัย แต่ก็ได้มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากสังคมสมัยสุโขทัยหลายด้าน ทั้งนี้ก็เพราะว่าสถาบันสูงสุดของการปกครองได้เปลี่ยนฐานะไป นั่นคือ พระมหากษัตริย์ได้เปลี่ยนฐานะจากมนุษยราช
  • ในสมัยสุโขทัยเป็นเทวธิราชขึ้นในสมัยอยุธยา เปลี่ยนจากฐานะความเป็น "พ่อขุน" มาเป็น "เจ้าชีวิต" ของประชาชนซึ่งเป็นผลให้ระบบและสถาบันทางการปกครองต่างๆ แตกต่างไปจากสังคมไทยสมัยสุโขทัยด้วยชนชั้นของสังคมสมัยอยุธยา
  • สังคมอยุธยา เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยชนชั้น นับตั้งแต่การแบ่งแยกชนชั้นอย่างเด็ดขาด ระหว่างกษัตริย์กับราษฎรแล้ว พระบรมวงศานุวงศ์ ก็มีอันดับสูงต่ำลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ในหมู่ราษฎร ก็มีการแบ่งชนชั้นกันเป็นชนชั้นผู้ดีกับชนชั้นไพร่ ในหมู่ข้าราชการก็มีศักดินาเป็นตัวกำหนดความสูงต่ำของข้าราชการในชนชั้นต่างๆ ซึ่งชนชั้นต่างๆ เหล่านี้ จะก่อให้เกิดมีสิทธิในสังคมอยุธยาขึ้นแตกต่างกันด้วย
  • ชนชั้นสูงสุดในสมัยอยุธยาคือพระบรมวงศานุวงศ์ ส่วนข้าราชการหรือขุนนางนั้น ก็แบ่งเป็นชั้นๆ ลดหลั่นกันไปตามลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมกับตำแหน่งหน้าที่แล้ว ราชการสมัยอยุธยายังมีศักดินาซึ่งมากน้อยตามตำแหน่งหน้าที่ ระบบศักดินานี้เป็นระบอบของสังคมอยุธยาโดยแท้ เพราะศักดินานั้น ทกคนต้องมีตั้งแต่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ พระบรมวงศานุวงศ์ลงไปจนถึงข้าราชการชั้นผู้น้อย และประชาชนธรรมดา จำนวนลดหลั่นลงไป
  • นอกจากจะแบ่งตามหน้าที่ตำแหน่งและความรับผิดชอบแล้ว ชนชั้นในสังคมอยุธยา ยังแบ่งออกกว้างๆ เป็นสองชนชั้นอีก คือ ผู้มีศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป เรียกว่าชนชั้นผู้ดี ส่วนที่ต่ำลงมาเรียกว่า ไพร่ แต่ไพร่ก็อาจเป็นผู้ดีได้ เมื่อได้ทำความดีความชอบเพิ่มศักดินาของตนขึ้นไปถึง 400 แล้ว และผู้ดีก็อาจตกลงมาเป็นไพร่ได้หากถูกลดศักดินาลงมาจนต่ำกว่า 400 การเพิ่มการลดศักดินา
  • ในสมัยอยุธยาก็อาจทำกันง่ายๆ หากได้ทำความดีความชอบหรือความผิด การแบ่งคนออกเป็นชนชั้นไพร่ และชนชั้นผู้ดีเช่นนี้ ทำให้สิทธิของคนในสังคมแต่ละชั้นต่างกัน สิทธิพิเศษต่างๆ ตกไปเป็นของชนชั้นผู้ดีตามลำดับแห่งความมากน้อยของศักดินา เช่นผู้ดีเองและคนในครอบครัวได้รับยกเว้นไม่ถูกเกณฑ์ไปใช้งานราชการ ในฐานะที่เรียกกันว่า แลก เมื่อเกิดเรื่องศาล ผู้ดีก็ไม่ต้องไปศาล เว้นแต่ผิดอาญาแผ่นดิน เป็นขบถ ธรรมดาผู้ดีจะส่งคนไปแทนตนในโรงศาล มีทนายไว้ใช้เป็นการส่วนตัว นอกจากนั้น ก็ยังมีสิทธิเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทได้ในขณะที่เสด็จออก ขุนนาง เมื่อมีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ ผู้ดีที่มีศักดินาสูงๆ จะต้องคุมคนไว้จำนวนหนึ่ง เพื่อรับราชการทัพได้ในทันที
  • เมื่อพระมหากษัตริย์เรียก เช่น ผู้มีศักดินา 10,000 และมีหน้าที่บังคับบัญชากรมกอง ซึ่งมีไพร่หลวงสังกัดอยู่ ก็ต้องรับผิดชอบกะเกณฑ์คนแข็งแรงและมีประสิทธิภาพด้วย


สังคมอยุธยา


  • สังคมอยุธยานั้น กฎหมายกำหนดให้ทุกคนต้องมีนาย ตามกฎหมาย ลักษณะรับฟ้องมาตรา 10 กล่าวว่า "ราษฎรรับฟ้องร้องด้วยคดีประการใดๆ แลมิได้สังกัดมูลนายอย่าพึงรับไว้บังคับบัญชาเป็นอันขาดทีเดียว ให้ส่งตัวผู้นั้นแก่สัสดี เอาเป็นคนหลวง" จะเห็นว่า ไพร่ทุกคนของสังคมอยุธยาต้องมีสังกัดมูลนายของตน ผู้ไม่มีนายสังกัดกฎหมายไม่รับผิดชอบในการพิทักษ์รักษาชีวิตและทรัพย์สิน ไพร่จะต้องรับใช้ชาติในยามสงคราม จึงต้องมีสังกัดเพื่อจะเรียกใช้สะดวก เพราะในสมัยอยุธยานั้น ไม่มีทหารเกณฑ์หรือทหารประจำการในกองทัพเหมือนปัจจุบัน จะมีก็แต่กองทหารรักษาพระองค์เท่านั้น 
  • นอกจากนั้น เป็นเพราะสมัยแรกตั้งกรุงศรีอยุธยา ต้องใช้ชายฉกรรจ์จำนวนมากในการปกป้องข้าศึก ศัตรู ความจำเป็นของสังคมจึงบังคับให้ราษฎรต้องมีนาย เพราะนายจะเป็นผู้เกณฑ์กำลังไปให้เมืองหลวงป้องกันภัยจากข้าศึกศัตรู และนายซึ่งต่อมากลายเป็น "เจ้าขุนมูลนาย" ต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกหมู่ของตน ถ้านายสมรู้ร่วมคิดกับลูกหมู่ทำความผิด ก็ถูกปรับไหมตามยศสูงต่ำ และหากลูกหมู่ของตนถูกกล่าวหาว่าเป็นโจรปล้นทรัพย์ มูลนายก็ต้องส่งตัวลูกหมู่ให้แก่ตระลากร
  • สังคมอยุธยาจึงเป็นสังคมที่ต้องมีความรับผิดชอบมากอยู่ มีกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมาย เพราะลักษณะและองค์ประกอบของสังคมซับซ้อนกว่าสังคมสุโขทัย

ระบบราชการสมัยกรุงศรีอยุธยา

  • ลักษณะสังคมไทยที่น่าสนใจอยู่อีกประการหนึ่งคือ ระบบราชการ ซึ่งเป็นเครื่องผูกมัดราษฎรให้มีภาระต่อแผ่นดิน ชีวิตคนไทยได้ผูกพันอยู่กับราชการมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ข้าราชการในสมัยอยุธยา เรียกว่า ขุนนาง มียศหรือบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาหรือออกญาเป็นชั้นสูงสุด และลดลงไปตามลำดับคือ เจ้าหมื่น พระ จมื่น หลวง ขุน จ่า หมื่น และพัน ส่วนเจ้าพระยา และสมเด็จพระยานั้น เกิดในตอนปลายๆ สมัยอยุธยา ส่วนยศ เจ้าหมื่น จมื่น และจ่านั้น เป็นยศที่ใช้กันอยู่ในกรมหาดเล็กเท่านั้น 
  • ส่วนตำแหน่งข้าราชการสมัยอยุธยาก็มี อัครมหาเสนาบดี เสนาบดี จางวาง เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุหบัญชี เป็นต้น ตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี และเสนาบดีนั้นในระยะแรกๆ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา ต่อมาในระยะหลังๆ ก็เป็นเจ้าพระยาไปหมด ส่วนตำแหน่งอื่นๆ ตั้งแต่ จางวาง เจ้ากรม ปลัดกรมลงมาจนถึงสมุบัญชีนั้น มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาบ้าง พระบ้าง จนถึงหลวง และขุนตามความสำคัญของตำแหน่งนั้นๆ ข้าราชการในสมัยอยุธยา ไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนหรือเงินปี ได้รับพระราชทานเพียงที่อยู่อาศัยและเครื่องอุปโภคบริโภคบางอย่าง เช่น หีบเงินใช้ใส่พลู ศาตราวุธ เรือยาว สัตว์ พาหนะ เลกสมกำลังและเลกทาสไว้ใช้สอย ที่ดินสำหรับทำสวนทำไร่ แต่เมื่อออกจากราชการแล้วก็ต้องคืนเป็นของหลวงหมดสิ้น


ไพร่สมัยอยุธยา


  • ระบบราชการของอยุธยานั้น ได้นำคนลงเป็นไพร่ สังคมอยุธยาจึงมีไพร่มีนาย ตามจดหมายเหตุลาลูแบร์กล่าวไว้ว่า "ประชาชนชาวสยามรวมกันเป็นกองทหารรักษาดินแดน" ซึ่งทุกคนต้องขึ้นทะเบียนหางว่าวกรมสุรัสวดีเข้าไว้ทั้งหมด ทุกคนเป็นพลรบต้องเกณฑ์เข้าเดือนรับราชการในพระองค์ปีละ 6 เดือน พลเมืองทั้งสิ้นต้องขึ้นทะเบียนเป็นหลักฐานไว้โดยแบ่งออกเป็นฝ่ายขวาฝ่ายซ้าย เพื่อทุกคนรู้ว่าตนต้องขึ้นสังกัดหน้าที่ฝ่ายใด นอกจากนั้น ยังแบ่งส่วนราชการออกเป็นกรมอีก แต่ละกรมมีหัวหน้าคนหนึ่งเรียกว่า นาย จนกระทั่งนายนี้เป็นคำแสดงความเคารพยกย่องที่ใช้กันทั่วไปแม้ระเบียบการปกครองสมัยอยุธยาจะแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ออกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือน แต่ก็ปรากฏว่าใช้ได้แค่ยามปรกติเท่านั้น พอเกิดสงครามขึ้น เจ้านายทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนก็ต้องเข้าประจำกองตามทำเนียบตน ทั้งนี้เพราะกำลังพลมีน้อย ไม่อาจแยกหน้าป้องกันประเทศไว้กับทหารฝ่ายเดียวได้ จำเป็นต้องใช้หลักการรวม จึงทำให้ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร
  • สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเรียกว่า ไพร่ ไพร่เป็นคำที่กินความกว้างขวาง เพราะผูกพันอยู่กับราชการมากกว่าทหารปัจจุบัน ในสมัยอยุธยา ไพร่คือ ประชาชนที่สังกัดมูลนายต่างๆ มีหน้าที่และความรับผิดชอบแยกออกได้ดังนี้

  • 1. ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่สังกัดวังหลวงหรือพระเจ้าแผ่นดิน ไพร่หลวงจะต้องถูกเกณฑ์เข้ารับราชการปีละ 6 เดือน คือเข้าเดือนหนึ่งออกเดือนหนึ่งสลับกันไป ถ้าไม่อยากถูกเกณฑ์เข้ารับราชการก็จะต้องเสียเงินแทน ซึ่งอาจจะเป็นเดือนละ 4-6 บาท ไพร่หลวงจะต้องสังกัดอยู่ในกรมพระสัสดีซ้าย ขวานอก ใน ไพร่หลวงที่เป็นชายเมื่อเกิดศึกสงครามก็จะต้องออกรบได้
  • 2. ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่สังกัดบรรดาเจ้านายหรือขุนนางใหญ่น้อยทั้งหลายในยามปรกติก็ถูกเกณฑ์แรงงานหรือรับราชการถ้าเกิดศึกสงครามผู้เป็นชายก็จะต้องออกรบ มีบางครั้งพวกไพร่หลวงหนีไปสมัครเป็นไพร่สมอยู่กับเจ้านาย กฎหมายอยุธยามีบทลงโทษถึงจำคุกและถูกเฆี่ยนถ้าหากจับได้นอกจากนั้น กฎหมายอยุธยายังได้กำหนดอีกว่า ถ้าพ่อกับแม่สังกัดแตกต่างกันเช่นคนหนึ่งเป็นไพร่หลวง อีกคนหนึ่งเป็นไพร่สม ลูกที่เกิดอาจจะต้องแยกสังกัดตามที่กฎหมายกำหนด
  • 3. ไพร่ราบ หมายถึง ไพร่ที่สังกัดมูลนาย มีอายุระหว่าง 13-17 ปี มีศักดินาระหว่าง 15
  • 4. ไพร่ส่วย คือ พวกที่ยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์เข้ามารับราชการแต่จะต้องส่งสิ่งของมาให้หลวงแทน เช่น อาจจะเป็นดีบุก ฝาง หญ้าช้าง ถ้าไม่นำสิ่งของเหล่านี้มาจะต้องจ่ายเงินแทน
  • 5. เลกหรือเลข เป็นคำรวมที่ใช้เรียกไพร่หัวเมืองทั้งหลายตลอดจนข้าทาส พวกเลกหัวเมือง ยังขึ้นกับกระทรวงใหญ่ 2 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย และกลาโหม มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา


ทาสสมัยอยุธยา


  • เป็นที่ยอมรับกันว่า สังคมอยุธยามีทาสไว้ใช้ ทาสเป็นชนชั้นอีกชนชั้นหนึ่งของสังคมสมัยอยุธยาและกฎหมายอยุธยาก็ได้ยอมรับการมีทาส มีบทบัญญัติเกี่ยวกับทาสไว้มากมายและได้แบ่งประเภทของทาสไว้ 7 พวกด้วยกันคือ
1. ทาสสินไถ่

2. ทาสเกิดในเรือนเบี้ย

3. ทาสได้มาแต่บิดามารดา

4. ทาสท่านให้

5. ทาสอันได้ช่วยเหลือในยามโทษทัณฑ์

6. ทาสอันได้เลี้ยงมาเมื่อเกิดทุพภิกขภัย

7. ทาสอันได้ด้วยเชลย


  • จะเห็นว่า ทาสในสมัยอยุธยานั้น เป็นทาสที่ถูกกฎหมายคุ้มครอง เป็นทาสที่มีสภาพเป็นมนุษย์และเป็นพลเมืองของชาติอย่างสมบูรณ์ ฉะนั้นคนไทยในสมัยอยุธยาจึงสมัครใจจะเป็นทาสมากกว่าจะเป็นขอทาน เพราะอย่างน้อยก็มีข้าวกินมีที่อยู่อาศัยโดยไม่เดือดร้อน

ชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีบางอย่างสมัยอยุธยา


  • การก่อรูปสังคมนั้น โดยทั่วไปย่อมเป็นหมู่บ้านตามที่อุดมสมบูรณ์พอจะเพาะปลูกเพื่อยังชีพได้ เช่น บริเวณลุ่มแม่น้ำ ลักษณะการก่อรูปของสังคมไทยโบราณก็เป็นไปลักษณะนี้


1. บ้านเรือนสมัยอยุธยา สร้างเป็นหลังขนาดย่อมๆ

2. ผู้หญิงต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวมากกว่าผู้ชาย

3. ชอบเล่นการพนันกันอย่างกว้างขวาง

4. ชอบสูบยาเส้น และสูบกันอย่างกว้างขวาง

5. นิยมให้ลูกชายได้ศึกษาเล่าเรียนโดยใช้วัดเป็นสถานศึกษา 

14-ปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของอาฌาจักรอยุธยา

14-ปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจของอาฌาจักรอยุธยา



ปัจจัยที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ
ของอาณาจักรอยุธยา

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ

            อยุธยามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี  มาตั้งแต่แรกตั้งอาณาจักรเนื่องจากตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร และการค้ากับต่างประเทศ

      1. เกษตรกรรม อยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก และลพบุรี พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงและเหมาะต่อการเพาะปลูกโดยเฉพาะการปลูกข้าว  ข้าวจึงเป็นผลิตผลที่สำคัญของอาณาจักร ในการปลูกข้าวนั้นประชากรส่วนใหญ่จะทำในลักษณะพอยังชีพมีการใช้เทคโนโลยีอย่างง่ายๆ โดยใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่มีความเหมาะสมจึงมีผลผลิตค่อนข้างมากที่จะส่งส่วยให้กับรัฐซึ่งทางรัฐเองก็จะนำไปหาผลประโยชน์อีกทางหนึ่ง นอกจากข้าวแล้วประชากรยังมีการผลิตในทางการเกษตรอีกหลายประเภท เช่น ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ และการประมง ซึ่งผู้ปกครองเอง ก็เห็นความสำคัญของการประกอบอาชีพเกษตรดังกล่าว จึงมีนโยบายสนับสนุนด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สนับสนุนให้ราษฎรเข้าไปทำกินในที่ดินว่างเปล่า ตรากฎหมายคุ้มครองผลผลิตของราษฎร เป็นต้น กระบวนการผลิตทางการเกษตรนั้น  ประชากรทั่วไปจะผลิตโดยใช้แรงงานครอบครัวและชุมชนตามประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา ส่วนการผลิตของพระมหากษัตริย์ ขุนนางจะผลิตโดยใช้การเกณฑ์แรงงานไพร่และทาส กระบวนการผลิตดังกล่าวก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นหลายประการ เช่น การลงแขก การประกอบพิธีกรรม พืชมงคล และการทำขวัญไร่นา เป็นต้น
           
           การเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักที่ทำให้อยุธยามีความรุ่งเรือง บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้อยุธยาขยายอาณาเขตประเทศออกไปอย่างกว้างขวางและสามารถเอาชนะอาณาจักรน้อยใหญ่ในดินแดนสุวรรณภูมิได้

      2. อุตสาหกรรม ผลิตผลทางอุตสาหกรรมของอยุธยา ส่วนใหญ่ คือ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ผลิตเครื่องใช้ไม้สอยอย่างง่ายๆ รวมไปถึงเครื่องครัวเรือนของชุมชนชั้นสูงและในราชสำนัก เช่น เสื้อผ้า เครื่องจักรสาน เครื่องเหล็ก เครื่องแกะสลัก เครื่องประดับ การผลิตเครื่องทองรูปพรรณ อุตสาหกรรมที่สำคัญอีกอย่างก็ คือ การทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ ดังปรากฏหลักฐานว่ามีการพบเตาเผาภาชนะหลายเตาในบริเวณ แม่น้ำน้อย นอกจากนี้มีอุตสาหกรรมการต่อเรือขนาดเล็ก และเรือขนาดใหญ่ เพื่อใช้บรรทุกสินค้า

      3. การค้า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า อยุธยามีบทบาทสำคัญทั้งในแง่ของการเป็นอาณาจักรการค้า ซึ่งได้สร้างความมั่งคั่งให้กับอาณาจักรอย่างต่อเนื่องทั้งนี้เพราะสภาพที่ตั้งของอยุธยา เหมาะสมกับการค้าขายทั้งภายใจอาณาจักร และระหว่างประเทศ

             3.1  การค้าขายภายในอาณาจักร  ด้วยสภาพที่ตั้งของอยุธยาอยู่บริเวณใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา และอยู่บริเวณที่แม่น้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน  ดังนั้นจึงเป็นชุมชนทางการค้าที่พ่อค้าจากหัวเมืองทางเหนือ จะนำสินค้าของป่ามาแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่มาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากพ่อค้าจีนที่เดินทางเข้ามาจอดเรือซื้อขายบริเวณปากน้ำเจ้าพระยาสินค้าเหล่านี้จะมีการค้าขายโดยผ่านพระคลังสินค้าซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ทำให้รัฐได้ผลประโยชน์จากการเป็นพ่อค้าคนกลางในการแสวงหาผลประโยชน์ดังกล่าว  ความสำคัญของการค้าทำให้รัฐได้ส่งเสริมการค้าด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดจนออกกฎหมายควบคุมการค้า  เพื่อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าวดำเนินไปได้ด้วยดี  อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาครัฐจะสนับสนุนการค้า แต่ประชากรทั่วไปก็ไม่ได้รับผลประโยชน์มากนักเนื่องจากยังคงค้าขายที่เน้นการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ตนเองต้องการมากกว่าจะแสวงหากำไร และผลประโยชน์โดยตรง ดังนั้นผู้ที่ได้ประโยชน์จากการค้าจึงจำกัดอยู่เฉพาะขุนนาง เจ้านาย ตลอดจนชาวต่างชาติ ผู้ที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในเรื่องดังกล่าว

             3.2  การค้าขายระหว่างประเทศ อยุธยานับว่ามีชัยภูมิเหมาะสมกับการค้าระหว่างประเทศเนื่องจากเป็นเมืองท่าที่อยู่กึ่งกลางเส้นทางการเดินเรือค้าขายระหว่างประเทศจีนกับประเทศอินเดีย ประกอบกับความเข้มแข็งของอำนาจทางการเมืองทำให้อยุธยาไม่มีคู่แข่งการค้าและยังเป็นศูนย์รวมของสินค้าจากเมืองท่าต่างๆ  ที่อยู่ใต้อิทธิพลทางการเมืองของอยุธยาด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้อยุธยา กลายเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างจีนกับอินเดีย

          สำหรับการค้าขายกับอยุธยากับประเทศในแถบเอเชีย  อยุธยาจะค้าขายกับจีน และอินเดียเป็นหลัก  นอกจากนั้นก็ค้าขายกับชาวอาหรับ  เปอร์เซีย  ส่วนการค้ากับต่างชาติตะวันตกนั้นโปรตุเกส  เป็นชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ 21 ต่อจากนั้นก็ชาติอื่นๆ เช่น สเปน  ฮอลันดา  อังกฤษ  และฝรั่งเศส  เดินทางเข้ามาค้าขายซึ่งรุ่งเรืองมากในสมัยราชวงศ์ปราสาททอง  แต่เมื่อถึงรัชสมัยของราชวงศ์บ้านพลูหลวง  การค้ากับชาติตะวันตกก็ซบเซาลง

           การดำเนินกิจกรรมค้าขายกับต่างชาตินั้น รัฐจะเป็นผู้จัดการโดยหน่วยงาน “พระคลังสินค้า”  ซึ่งมีกรมท่าซ้ายดูแลรับผิดชอบการค้ากับอินเดีย และชาติอาหรับ เปอร์เซีย ส่วนกรมท่าขวาดูแลค้าขายกับจีน  และกรมท่ากลางค้าขายกับชาติตะวันตก หน่วยงานของรัฐจะดำเนินการค้าขายโดยการผูกขาดสินค้า คือ สินค้าบางอย่าง เช่น อาวุธ และสินค้าที่รัฐเห็นว่าจะขายต่อได้กำไรรัฐจะผูกขาดซื้อไว้ ส่วนสินค้าออก เช่น  ข้าว และของป่า รัฐจะกำหนดให้เป็นสินค้าต้องห้ามต้องซื้อผ่านรัฐเท่านั้น  การที่รัฐดำเนินธุรกิจแบบผูกขาดสินค้าและยังเรียกเก็บภาษี การค้าจากเรือของชาวต่างชาติ ทำให้รัฐบาลได้ผลประโยชน์อย่างมหาศาลจากกิจกรรมดังกล่าว  (อดิสร  ศักดิ์สูง. 2546 :  67  อ้างจาก ศุภรัตน์  เลิศพาณิชย์กุล  2532 : 297 – 301) จะเห็นได้ว่าการค้าส่งผลให้อยุธยามีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจเกิดการขยายตัวของชุมชน การแลกเปลี่ยนสินค้า  การพัฒนาทางด้านสังคม นำไปสู่ความมั่นคงเข้มแข็งของอาณาจักรอยุธยา

เศรษฐกิจสมัยอยุธยา

          ความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง  การมีแหล่งน้ำจำนวนมาก  ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพราะเกิดจากการทับถมของดินตะกอนแม่น้ำ  ซึ่งเหมาะสำหรับการทำนา  ทำให้อาณาจักรอยุธยาเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ  นอกจากนี้การมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมกับการค้าขายกับเมืองต่างๆ ที่อยู่ภายในตามเส้นทางแม่น้ำ และการค้าขายกับภายนอกทางเรือสำเภา  ทำให้เศรษฐกิจอยุธยามีพื้นฐานสำคัญอยู่ที่การเกษตรและการค้ากับต่างประเทศ ต่อมาได้พัฒนาเป็นศูนย์กลางทางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          1.  เศรษฐกิจในสมัยอยุธยาเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพที่ขึ้นอยู่กับเกษตรกรรมเช่นเดียวกับสุโขทัย พื้นฐานทางเศรษฐกิจของอยุธยาคือการเกษตร มีวัตถุประสงค์ในการผลิตเพื่อบริโภคภายในอาณาจักรตามลักษณะเศรษฐกิจแบบพอยังชีพ  แต่อาณาจักรอยุธยาได้เปรียบกว่าอาณาจักรสุโขทัยในด้านภูมิศาสตร์  เพราะอาณาจักรอยุธยาตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำอันกว้างใหญ่  แม่น้ำสำคัญคือ  แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำป่าสัก  แม่น้ำลพบุรี  ซึ่งมีน้ำตลอดปีสำหรับการเพาะปลูก  พืชที่สำคัญคือ  ข้าว  รองลงมาได้แก่  พริกไทย  หมาก  มะพร้าว  อ้อย  ฝ้าย  ไม้ผลและพืชไร่อื่นๆ  ลักษณะการผลิตยังใช้แรงงานคนและแรงงานสัตว์เป็นหลัก  ด้วยเหตุดังกล่าว  อาณาจักรอยุธยาจึงได้ทำสงครามกับรัฐใกล้เคียงเพื่อครอบครองแหล่งทรัพยากรและกวาดต้อนผู้คนเพื่อนำมาเป็นแรงงานสำคัญของบ้านเมือง

  • ราชอาณาจักรอยุธยาได้ทำนุบำรุงการเกษตรด้วยการจัดพระราชพิธีต่างๆ เพื่อให้เป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญชาวนาให้มีกำลังใจ  เช่น พระราชพิธีพิรุณศาสตร์ เป็น พิธีขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีการสร้างสิริมงคลให้กับชาวนาและแจกพันธุ์ข้าว เป็น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็น พิธีลงมือจรดคันไถเป็นครั้งแรกเพื่อเป็นการเตือนว่าถึงเวลาทำนาแล้ว
  • อาณาจักรอยุธยาไม่ได้สร้างระบบการชลประทานเพื่อส่งเสริมการเกษตร  เนื่องจากมีแหล่งน้ำเพียงพอ  ส่วนการขุดคลองทำขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางการคมนาคม  เพื่อประโยชน์ทางยุทธศาสตร์  และการระบายน้ำตอนหน้าน้ำเท่านั้น แม้ว่าอาณาจักรอยุธยา การเพาะปลูกยังเป็นแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาแรงงานคนและธรรมชาติเป็นหลัก แต่สภาพภูมิศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์  ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีเหลือเป็นจำนวนมาก  ผลผลิตทางการเกษตรเป็นสินค้าที่นำไปขายให้ชาวต่างประเทศ นำรายได้มาสู่อาณาจักร  ดังปรากฏหลักฐานว่าอยุธยาเคยขายหมากให้จีน  อินเดีย  และโปรตุเกส  ฝ้ายและมะพร้าวให้ญี่ปุ่นและมะละกา  ในสมัยอยุธยาตอนปลายได้ขายข้าวให้ฮอลันดา  ฝรั่งเศส  มลายู  มะละกา  ชวา  ปัตตาเวีย  ลังกา  จีน  ญี่ปุ่น การเกษตรจึงเป็นรากฐานสำคัญทางเศรษฐกิจของอยุธยาและมีส่วนในการเสริมสร้างราชอาณาจักร     อยุธยาให้เจริญรุ่งเรืองมาตลอดเวลา 417 ปี


          2.  อาณาจักรอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากทำเลที่ตั้งของอาณาจักรอยุธยาเอื้ออำนวยต่อการค้า  กล่าวคือ  ศูนย์กลางอาณาจักรตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมกับการค้า  ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร  กล่าวคือ  กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบทั้ง 3 ด้าน  คือ  แม่น้ำลพบุรี  แม่น้ำป่าสัก  และแม่น้ำเจ้าพระยา  ทำให้อยุธยาใช้เส้นทางทางน้ำติดต่อกับแว่นแคว้นที่อยู่ภายในได้สะดวก  เช่น  สุโขทัย    ล้านนา  ล้านช้าง นอกจากนี้ที่ตั้งของราชธานีที่อยู่ไม่ห่างไกลปากน้ำหรือทะเล  ทำให้อยุธยาติดต่อค้าขายทางเรือกับต่างประเทศที่อยู่ห่างไกลได้สะดวก  และเมื่ออาณาจักรมีความเข้มแข็ง  สามารถควบคุมการค้ารอบชายฝั่งทะเลอันดามัน  และโดยรอบอ่าวไทย ซึ่งเป็นแหล่งที่พ่อค้าต่างชาติเดินทางมาค้าขายได้  ทำให้อยุธยาสามารถทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลางในการติดต่อค้าขายระหว่างจีน  ญี่ปุ่นกับพ่อค้าต่างชาติอื่น ๆ กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นศูนย์กลางที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  •  บทบาทสำคัญของอยุธยาทางการค้ามี 2 ประการ  คือ  เป็นแหล่งรวมสินค้าประเภทของป่าที่ต่างชาติต้องการและเป็นศูนย์กลางการค้าส่งผ่าน  คือ  กระจายสินค้าจากจีนและอินเดียสู่ดินแดนตอนในของภูมิภาค  เช่น  ล้านนา  ล้านช้าง  และส่งสินค้าจีนไปยังดินแดนต่างๆ ในมหาสมุทรอินเดีย  และรวบรวมสินค้าจากดินแดนตอนในและจากดินแดนต่างๆ ในอินเดียไปขายต่อให้จีน


  •  สินค้าประเภทของป่า ได้แก่  สัตว์ป่าและผลผลิตจากสัตว์ป่า  ไม้  เช่น  ไม้ฝาง  ไม้กฤษณา  ไม้จันทร์หอม  และพืชสมุนไพร  เช่น  ลูกกระวาน  ผลเร่ว  กำยาน  การบูร  เป็นต้น  สินค้าเหล่านี้ได้จากดินแดนภายในอาณาจักรอยุธยา และดินแดนใกล้เคียง  ผ่านทางระบบมูลนาย โดยแรงงานไพร่จะเป็นผู้หาแล้วส่งมาเป็น  "ส่วย"  แทนแรงงานที่จะต้องมาทำงานให้รัฐ  บางส่วนได้มาด้วยการซื้อหาแลกเปลี่ยนกับราษฎรและอาณาจักรเพื่อนบ้าน  แต่ส่วนใหญ่มาจากการเกณฑ์ส่วยจากหัวเมืองภายในอาณาจักร  โดยเฉพาะในรัชสมัยพระบรมไตรโลกนาถที่ปฏิรูปการปกครองหัวเมือง  ทำให้การเกณฑ์ส่วยรัดกุมมากกว่าเดิม  และส่วนหนึ่งมาจากเมืองประเทศราชของอยุธยา  นอกจากของป่าแล้ว  สินค้าออกยังได้แก่  พริกไทย  ดีบุก  ตะกั่ว  ผ้าฝ้าย  และข้าว  ส่วนสินค้าเข้าได้แก่  ผ้าแพร  ผ้าลายทอง  เครื่องกระเบื้อง  ดาบ  หอก  เกราะ  ฯลฯ



  • การค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่เป็นการส่งเรือสำเภาไปค้าขายกับดินแดนต่างๆ  ที่สำคัญคือการค้ากับจีนภายใต้การค้าในระบบบรรณาการ  ที่จีนถือว่าไทยเป็นเมืองขึ้นของจีน  แต่อยุธยาเห็นว่าเป็นประโยชน์ทางการค้า  เพราะทุกครั้งที่เรือของอยุธยาเดินทางไปค้าขายกับจีนจะนำ  "ของขวัญ"  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าจากป่า  เช่น  นกยูง  งาช้าง  สัตว์แปลกๆ  กฤษณา  กำยาน  เป็นต้น  เป็นเครื่องราชบรรณาการไปถวายให้จักรพรรดิจีน  ซึ่งจีนจะมอบของตอบแทน  เช่น  ผ้าไหม  เครื่องลายคราม  ซึ่งเป็นสินค้าราคาแพงเป็นการตอบแทน  เรือสินค้าที่นำสินค้าไปค้าขายก็จะถูกละเว้นภาษีและได้รับการอนุญาตให้ค้าขายกับหัวเมืองต่างๆ ของจีนได้ นอกจากนี้อยุธยายังค้าขายกับหัวเมืองมลายู  ชวา  อินเดีย  ฟิลิปปินส์  เปอร์เซีย  และลังกา  การค้าส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์  เจ้านาย และขุนนาง  มีการค้าเอกชนบ้างโดยพวกพ่อค้าชาวจีนดำเนินการ  ลักษณะการค้ากับต่างประเทศในสมัยอยุธยาตอนต้นยังเป็นการค้าแบบเสรี  พ่อค้าต่างชาติยังสามารถค้าขายกับราษฎรได้โดยตรงไม่ต้องผ่านหน่วยงานของรัฐบาล  แต่ก็มีลักษณะการผูกขาดโดยทางอ้อมในระบบมูลนาย


  •                  หลังรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034-2072)  การค้ากับต่างประเทศได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น  เพราะอยุธยาเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก  เริ่มตั้งแต่ชาติโปรตุเกสใน พ.ศ. 2054  ต่อมาใน พ.ศ. 2059  อยุธยาได้ทำสัญญาทางพระราชไมตรีทางการค้ากับโปรตุเกส  เป็นฉบับแรกที่อยุธยาทำกับประเทศตะวันตก  จากนั้นก็มีชาติฮอลันดา (พ.ศ. 2142)  สเปน (พ.ศ. 2141)  อังกฤษ  ในรูปบริษัทอินเดียตะวันออก  บริษัทการค้าของฮอลันดา  เรียกว่า  V.O.C.  ส่วนบริษัทการค้าของอังกฤษ  เรียกว่า  E.J.C.  และฝรั่งเศสในสมัยพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231)


  •  การค้ากับต่างประเทศเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พ.ศ. 2091-2111)  มีการตรากฎหมายหลายฉบับเกี่ยวกับการค้าและจัดระบบผูกขาดทางการค้าให้เป็นระเบียบยิ่งขึ้น คือ  มีการกำหนดสินค้าต้องห้าม  ซึ่งเป็นสินค้าที่รัฐบาลโดยพระคลังสินค้าเท่านั้นที่จะผูกขาดซื้อขาย  สินค้าขาเข้า  ได้แก่  ปืนไฟ  กระสุนดินดำ  และกำมะถัน  ส่วนสินค้าขาออก  ได้แก่  นอระมาด  งาช้าง  ไม้กฤษณา  ไม้จันทร์  ไม้หอม  และไม้ฝาง  ซึ่งต่อมาการค้าผูกขาดของรัฐ ได้เข้มข้นมากขึ้น  สินค้าบางประเภท  เช่น  ถ้วยชาม  ผ้าแดง  ซึ่งเป็นสินค้าในชีวิตประจำวันก็เป็นสินค้าผูกขาดด้วยและมีการจัดตั้ง "พระคลังสินค้า"  ให้รับผิดชอบดูแลการค้าผูกขาดของรัฐบาล  พระคลังสินค้าจึงเป็นหน่วยงานสำคัญในระบบเศรษฐกิจไทยในสมัยอยุธยาสืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในปลายสมัยอยุธยา "ข้าว" ได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญแทนที่สินค้าจากป่า  เนื่องจากเกิดทุพภิกขภัยอย่างรุนแรงในประเทศจีน  ชาวจีนจึงขอให้พ่อค้าอยุธยานำข้าวไปขายให้จีนโดยลดภาษีให้  นอกจากนี้อยุธยายังขายข้าวให้ฮอลันดา  ฝรั่งเศส  หัวเมืองมลายู  มะละกา  ชวา  ปัตตาเวีย  ญวน  เขมร  มะละกา  ลังกา  และญี่ปุ่น การค้ากับต่างประเทศจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจอยุธยา  ซึ่งนำความมั่งคั่งให้กลุ่มผู้ปกครอง ได้แก่  พระมหากษัตริย์  เจ้านาย  และขุนนางอย่างมหาศาล 


3.  รายได้ของอยุธยา

           1) รายได้ในระบบมูลนาย  แรงงานจากไพร่ถือเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญ  รัฐบาลได้เกณฑ์      แรงงานจากไพร่ในระบบเข้าเดือนออกเดือน  หรือปีละ 6 เดือน  มาทำงานให้รัฐ  เช่น  การสร้างกำแพงเมือง  ขุดคลอง   สร้างวัด  สร้างถนน เป็นต้น  ไพร่ที่ไม่ต้องการทำงานให้รัฐก็สามารถจ่ายสิ่งของที่รัฐต้องการ  เช่น  มูลค้างคาว  สินค้าป่า  เรียกว่า  "ส่วย" แทนการเกณฑ์แรงงานได้ ส่วยเหล่านี้รัฐจะนำไปเป็นสินค้าขายยังต่างประเทศต่อไป

          2) รายได้จากภาษีอากร ภาษีอากรในสมัยอยุธยา มีดังนี้        

- ส่วย  คือ  สิ่งของหรือเงินที่ไพร่หลวงจ่ายให้รัฐทดแทนการถูกเกณฑ์มาทำงาน  โดยรัฐจะเป็นผู้กำหนดว่าท้องถิ่นใดจะส่งส่วยประเภทใด  เช่น  ส่วยดีบุก  ส่วยรังนก  ส่วยไม้ฝาง  ส่วยนอแรด  ส่วยมูลค้างคาว  เป็นต้น

  • - อากร  คือ  เงินที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรประกอบอาชีพได้  เช่น  การทำนา  จะเสียอากรค่านา เรียกว่า  "หางข้าว" ให้แก่รัฐ เพื่อรัฐจะได้เก็บไว้เป็นเสบียงอาหารสำหรับกองทัพ ผู้ที่ทำสวนเสียอากรค่าสวนซึ่งคิดตามประเภทและจำนวนต้นไม้แต่ละชนิด นอกจากนี้ยังรวมถึงการได้รับสิทธิจากรัฐบาลในการประกอบอาชีพ เช่น การอนุญาตให้ขุดแร่ การอนุญาตให้เก็บของป่า การอนุญาตให้จับปลาในน้ำ การอนุญาตให้ต้มกลั่นสุรา เป็นต้น


  • - จังกอบ  คือ  ค่าผ่านด่านขนอนทั้งทางบกและทางน้ำ  โดยเรียกเก็บตามยานพาหนะที่บรรทุกสินค้า เช่น  เรือสินค้าจะเก็บตามความกว้างของปากเรือตามอัตราที่กำหนด  จึงเรียกว่า  ภาษีปากเรือ  ส่วนพ่อค้าแม่ค้าในท้องถิ่นมักเก็บในอัตราสิบชักหนึ่ง- ฤชา  คือ  เงินที่รัฐเรียกเก็บจากการให้บริการจากราษฎร  เช่น  การออกโฉนด  หรือเงินปรับไหมที่ผู้แพ้คดีต้องจ่ายให้ผู้ชนะ  เงินค่าธรรมเนียมนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  "เงินพินัยหลวง"


         3) รายได้จากต่างประเทศ ได้แก่ ผลกำไรจากการค้าเรือสำเภา ภาษีสินค้าขาเข้าและสินค้าขาออก สิ่งของที่ได้รับพระราชทานจากจักรพรรดิจีน บรรณาการจากต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา

13-ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก

13-ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก

ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก

          ในสมัยอยุธยาชาวตะวันตกจากทวีปยุโรปได้เข้ามามีความสัมพันธ์กับอยุธยาหลายชาติ การดำเนินการในด้านความสัมพันธ์ของอยุธยามีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ สร้างสัมพันธไมตรี รับวิทยาการ เช่นการแพทย์ การศึกษา ก่อสร้าง บุคลากร รักษาเอกราชอาณาจักร โดยระบบคานอำนาจในหมู่ชาวตะวันตกด้วยกัน


โปรตุเกส

          เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2054 เนื่องจากโปรตุเกสยึดครองหัวเมืองมะละกาได้เมื่อรู้ว่าเคยเป็นของอยุธยามาก่อนจึงได้ส่ง ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี โดยไทยอำนวยความสะดวกในการค้าและเผยแผ่ศาสนาและโปรตุเกสรับจัดหาปืนและกระสุนดินดำให้ฝ่าย อยุธยาความสัมพันธ์เริ่มเสื่อมเมื่อฮอลันดามาค้ากับอยุธยาจึงก่อความวุ่นวาย และถูกปราบปรามสมัยพระเจ้าปราสาททอง ความสัมพันธ์จึงเสื่อมลง

ฮอลันดา

        ได้เดินเรือมาติดต่อค้าขายในแถบเอเชียและมีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆและกลายเป็นคู่แข่งกับโปรตุเกสในปี 2147 สมัยสมเด็จพระนเรศวรบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้เข้ามาแทนที่โปรตุเกสที่เสื่อมอำนาจไป จุดประสงค์เพื่อการค้าอย่างเดียวอยุธยาในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถได้ส่งทูตไทย 16 คน เพื่อไปดูงานด้านต่อเรือเป็นครั้งแรกของไทยเหตุนี้เองทำให้ฮอลันดาได้สิทธิพิเศษทางการค้าในการซื้อหนังสัตว์ ผู้เดียวทำให้อังกฤษและโปรตุเกสไม่พอใจ ตอนหลังปลายสมัยพระนารายณ์การค้ากับฮอลันดา
เสื่อมลงเนื่อง จากไม่พอใจระบบผูกขาดสินค้าของไทย

สเปน

        ได้เข้ามาติดต่อสมัยพระนเรศวรพระองค์ทรงมอบช้าง 2 เชือกเป็นบรรณาการ แก่ผู้สำเร็จราชการสเปนที่มะนิลา ฟิลิปปินส์ ต่อมาเปลี่ยนผู้สำเร็จราชการคนใหม่สเปนจึงส่งราชสาสน์มาขอทำการค้ากับอยุธยา แต่การค้าไม่รุ่งเรืองเหมือนชาติอื่นๆ เนื่องจากสเปนมุ่งที่จะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในเขมรและค้าขายกับเขมรมากกว่าไทย และเรื่อสำเภาไทยที่ไปค้าที่ฟิลิปปินส์ได้รับความเดือดร้อน จากการกระทำของสเปนพ่อค้าไทยจึงเลิกค้าขายกับสเปน

อังกฤษ

        ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ได้ส่งพระราชสาส์นมากับพ่อค้า ถึงสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมเพื่อติดต่อค้าขายโดยให้อยุธยาเป็นศูนย์การค้าเพื่อไปค้ากับจีนและญี่ปุ่น การค้าไม่ค่อยราบรื่นเพราะมีคู่แข่งสำคัญอย่างโปรตุเกส และฮอลันดาทำให้อังกฤษถอนสถานีการค้าที่อยุธยาออกไป มารื้อฟื้นขึ้นใหม่ในสมัยพระนารายณ์ โดยพระองค์ต้องการให้อังกฤษถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดาแต่ไม่สำเร็จ แถมมีปัญหากันเรื่องการค้าความสัมพันธ์จึงปิดฉากลงตั้งแต่นั้นมา

ฝรั่งเศส

           เป็นชาติสุดท้ายที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา คณะแรกที่เข้ามาเป็นบาทหลวงในปี พ.ศ. 2205 เนื่องจากสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ให้เสรีภาพด้านศาสนา จึงทำให้ในปี 2216 สังฆราชแห่งฝรั่งเศสได้นำสาส์นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มาถวายพระนารายณ์ โดยความช่วยเหลือ  ออกญาวิชาเยนทร์หรือ( คอนสแตนตินฟอลคอน) ชาวกรีกที่มารับราชการในอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์จึงส่งคณะทูตไปฝรั่งเศสอีก 2 ชุด

          ใน พ.ศ. 2223 และ พ.ศ. 2227 แต่ชุดแรกเรือล่มก่อน ส่วนชุด 2 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และคณะทูต จากฝรั่งเศสก็ติดตามมาด้วยคือ  เชอ วาริเอร์ เดอโชมองต์ โดยคณะทูตชุดนี้ได้มีจุดหมายเพื่อสร้างสัมพันธ์ ทางการค้า และโน้มน้าวให้สมเด็จพระนารายณ์เข้ารีตนับถือคริสต์

         ปี พ.ศ. 2228 คณะทูตฝรี่งเศส เดินทางกลับพร้อมคณะทูตไทย คือออกพระวิสุทธสุนทร หรือ (ปาน) ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสมาถึงจุดสุดท้ายช่วงปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ออกญาวิไชเยนทร์ วางแผนร่วมกับชาวฝรั่งเศสเพื่อยึดครองอยุธยา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะถูกกวาดล้างเสียก่อน โดยขุนนางไทย คือ พระเพทราชาและพรรคพวกทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับฝรั่งเศสสิ้นสุดลง

 สรุป

        ความสัมพันธ์กับชาวตะวันตกส่วนใหญ่จะเป็นทางด้านการค้าเป็นหลักช่วยสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจแก่อยุธยาอย่างมากแต่มีบางประเทศที่เข้ามาติดต่อโดยมีศาสนาเป็นเรื่องบังหน้ามีเรื่องการเมืองแอบแฝง เช่น ฝรั่งเศส เป็นต้น

12-ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย

12-ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย

ความสัมพันธ์กับชาติต่าง ๆในทวีปเอเชีย

          ในสมัยกรุงศรีอยุธยานอกจากจะมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้วกรุงศรีอยุธยายังมีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียหลายประเทศโดยมีประเทศสำคัญได้แก่

จีน 

          มีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอาณาจักรอยุธยา เริ่มตั้งแต่ พระเจ้าหงหวู่หรือหงอู่ (หรือจูหยวงจาง) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิงขึ้นปกครองจีนได้ทรงส่งทูตไปยังอาณาจักรต่างๆ รวมทั้งกรุงศรีอยุธยาด้วยโดยในพ.ศ.1913ได้ทรงส่งราชทูตอัญเชิญพระบรมราชโองการมายัง กรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1(ขุนหลวงพะงั่ว) ในปีต่อมา คือพ.ศ. 1914

         ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะราชฑูตไทยได้อัญเชิญพระราชสาสน์และบรรณาการไปถวาย ซึ่งนับได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ทางการฑูตครั้งแรก ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับจีน หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนเป็นไปด้วยความราบรื่นปรากฏว่าไทยได้ส่งทูตไปเมืองจีนเป็นประจำทุกปีและบางปีมากกว่าหนึ่งครั้งคือ ระหว่าง 1914 - 2054 ทางอยุธยาส่งทูตไปเมืองจีนถึง 89 ครั้งเป็นต้น อยุธยาค่อนข้างให้ความสำคัญกับประเทศจีนมาก ความสัมพันธ์กับจีนเป็นรูปแบบรัฐบรรณาการ อยุธยาต้องการตลาดสินค้าใหญ่อย่างจีน และไม่ต้องเสียภาษีขาเข้าเพียงแต่ยอมอ่อนน้อมกับจีนซึ่ง จีนถือตัวเองเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลใครมายอมอ่อนน้อมจะได้รับการคุ้มครอง และได้ผลประโยชน์กลับบ้านมากกว่าที่อยุธยาส่งบรรณาการไปถวายเสียอีกสินค้าที่เราส่งไปจีนการที่ไทยได้ส่งคณะฑูตบรรณาการไปจีนบ่อยครั้งนั้นผลที่ได้ คือเราได้สิทธิพิเศษทางการค้ากับจีนเพราะคณะฑูตนั้นจะนำสินค้าจากอยุธยามาขายที่จีนด้วยและตอนขากลับก็จะนำสินค้าจากจีน ไปขายที่อยุธยา ด้วย ในการติดต่อค้าขายระหว่างอยุธยากับจีนนั้นต่างก็มีความต้องการสินค้าของกันและกันสินค้าที่ไทย ต้องการจากจีน ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องกระเบื้อง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่จีนต้องการจากไทย เช่น เครื่องเทศ รังนก ข้าวพริกไทย

           ต่อมาชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยามีสินค้าบางอย่างที่จีน ซื้อสินค้าของชาติตะวันตกจากอยุธยาไปด้วย เช่นเครื่องแก้ว เครื่องหอม พรม เป็นต้น


ญี่ปุ่น 
          ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนและเข้ามาทำมาหากินอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่ พ.ศ.2083 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลของสมเด็จพระไชยราชาธิราช และชาวญี่ปุ่นได้อาสาสมัครในครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกองทัพไปรบกับพม่าในสงครามยุทธหัตถีใน พ.ศ.2135ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเริ่มอย่าง เป็นทางการในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ( พ.ศ.2148 -2153 ) กับโชกุนโตกุงาวะ  อิเอยาสุ ใน พ.ศ.2149 ญี่ปุ่นได้ส่งสาสน์มาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสมเด็จพระเอกาทศรถพร้อมด้วยดาบ เสื้อเกราะเป็นเครื่องราชบรรณาการ และในขณะเดียว กันได้ทูลขอปืนใหญ่และไม้หอมจากไทย สมเด็จพระเอกาทศรถจึง ส่งสาสน์ตอบไปญี่ปุ่นเป็นการตอบแทน ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
           ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น เจริญสูงสุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.2153 - 2171 ) เพราะในสมัยนี้ทางการกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นถึง 4 ครั้งคือใน พ.ศ.2159 , 2164 ,  2166 , 2168
           ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากนั้น โดยที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากไทย คือ ข้าว ดีบุก น้ำตาล ไม้ หนังกวาง สินค้าที่ไทยต้องการจากญี่ปุ่น คือ ทองแดง เงินเหรียญ ของญี่ปุ่น ฉากลับแล เป็นต้น

            ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยานอกจากเป็นทหารอาสาแล้วมี ชาวญี่ปุ่นบางคนเข้ารับราชการในอยุธยาในตำแหน่งที่สูงคือ ยามาดา นางามาซา ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นหลังจากสิ้นสุดสมัยพระเจ้าทรงธรรม แล้วเริ่มเสื่อมลง เช่นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองส่งคณะฑูตไปญี่ปุ่น 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการต้อนรับ จากญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และปิดประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2182 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นสิ้นสุดลง

อิหร่าน 

          ชาวอิหร่านหรือชาวอาหรับได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาและเข้ารับราชการในราชสำนักไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เช่นเฉกอะหมัด หรือต่อมาเป็นต้นตระกูลบุนนาค ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับอิหร่านนั้นไทยได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยาแต่ไม่ค่อยราบรื่นนักเพราะถูกออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนตินฟอลคอน) กีดกันลังกา ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับลังกาเพราะทางลังกาได้ส่งทูตมาขอพระสงฆ์จากไทยเพื่อไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา ในลังกาสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทางลังกาจึงเรียกพระสงฆ์ที่ไปปฏิบัติพระธรรมที่ลังกาว่าลัทธิสยามวงศ์  

สรุป

            ความสัมพันธ์กับชาติในเอเชียส่วนใหญ่เป็นเรื่องการค้าเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นหลักโดยเฉพาะการค้ากับ จีนทำให้อยุธยาได้ประโยชน์มากมายจากรูปแบบความสัมพันธ์แบบรัฐบรรณาการ ส่วนกับญี่ปุ่นก็เช่นกัน จนมีชาวญี่ปุ่นเข้ามารับราชการในสมัยอยุธยา คือ ยามาดาได้รับพระราชทานยศเป็น(ออกญาเสนาภิมุข)

11-ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง

11-ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง




ความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง




            สุโขทัย ล้านนา (เชียงใหม่) มอญ พม่า ล้านช้าง (ลาว) เขมร และมลายูความสัมพันธ์กับอาณาจักรสุโขทัย  ซึ่งถูกรวมเป็นอันเดียวกับอยุธยาตั้งแต่ ปี 2006 เป็นต้นมาโดยตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองก่อตั้งอยุธยาก็ดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจเข้าสู่สุโขทัย  โดยเข้ายึดเมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นของสุโขทัยไว้ พระมหาธรรมราชาที่ 1 แห่งสุโขทัยได้ส่งเครื่องบรรณาการมาทูลขอคืนจึงคืนให้และเท่ากับว่า สุโขทัยได้ยอมอยู่ใต้อำนาจอยุธยาตั้งแต่นั้นมาก และสมัยพระอินทราชาได้ทูลขอธิดา พระมหาธรรมราชาที่ 2 ให้สมรสกับเจ้าสามพระยา (พระโอรส)   ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็น การสร้างสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างสองอาณาจักรด้วยความสัมพันธ์กับสุโขทัยสิ้นสุดลงเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ   ไปประทับที่พิษณุโลก สุโขทัยก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาโดยสิ้นเชิง

ความสัมพันธ์กับล้านนา (เชียงใหม่)

           หลังจากที่ได้สุโขทัยไว้ในครอบครองแล้ว อยุธยาก็รุกต่อขึ้นเหนือหวังยึดครองล้านนา แต่ยกไปตีหลาย ครั้งไม่สำเร็จ ระยะหลังเกิดสงครามเพราะสุโขทัยไปยอมอ่อนน้อมต่อล้านนา ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ของ ล้านนา เพื่อหวังให้ล้านนาช่วยรบกับอยุธยา แต่ในที่สุดสมัยพระไชยราชาธิราชล้านนาก็ตกเป็นของอยุธยา

ความสัมพันธ์กับมอญ

           อาณาจักรมอญส่วนใหญ่จะเป็นรัฐกันชนระหว่างพม่ากับอยุธยา ส่วนใหญ่พม่าจะยึดครองมากกว่าไทยเหตุผลของความสัมพันธ์ กับมอญเพราะอยุธยาต้องการครอบครองหัวเมืองชายฝั่งที่เป็นเมืองท่าเพื่อติดต่อค้าขายกับต่างชาติ เช่น เมือง ทวาย มะริด และตะนาวศรี เป็นต้นมอญเคยตกเป็นของไทยสมัยพระนเรศวร เท่านั้น นอกนั้น ตกเป็นของพม่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2081 เป็นต้นมา

ความสัมพันธ์กับพม่า

           ความสัมพันธ์ไทยกับพม่าสมัยอยุธยาเป็นไปในรูปของสงครามโดยตลอดเพื่อแย่งชิงการปกครองเมือง ประเทศราช ส่วนปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นไปเพื่อแย่งชิงเมืองท่าในเขต อ่าวเบงกอล ของมอญด้วยสาเหตุที่พม่ามีแผ่นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ จึงต้องขยายอาณาเขตออกมาทางมอญ และล้านนา ซึ่งมีพรมแดน ติดอยุธยา ดังนั้นมอญจึงเป็นรัฐกันชน เมื่อพม่าได้มอญกับล้านนาแล้วก็มักแผ่อำนาจมายังอยุธยาเสมอ

ความสัมพันธ์กับล้านช้าง (ลาว) ล้านช้า

          เป็นมิตรที่แสนดีกับไทยสมัยอยุธยามาตลอดแม้เวลาเราติดศึกพม่าก็ส่งทัพมาช่วยรบมีความสัมพันธ์ ทางเครือญาติเช่นสมัยพระเจ้าอู่ทองได้พระราชทานพระแก้วฟ้า แก่พระเจ้าสามแสนไทย สมัยสมเด็จ พระจักรพรรดิก็ได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์ความร่วมมือที่ดีต่อกัน คือพระธาตุศรีสองรักที่จังหวัดเลย และ พระราชทานธิดาพระนางเทพกษัตรีแก่พระเจ้าไชยเชษฐาแต่ถูกพม่าชิงตัวไปก่อน

ความสัมพันธ์กับเขมร

         เป็นไปในลักษณะการรับวัฒนธรรมประเพณี เช่นการปกครองรูปแบบสมมุติเทพ และวัฒนธรรมประเพณี ในฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทย บางครั้งเขมรก็แยกเป็นอิสระหรือไปหันไปพึ่งญวณและมักมาโจมตี ไทยเวลาอยุธยามีศึกกับพม่าสมัยเจ้าสามพระยาของอยุธยาทรงยกทัพไปยึดพระนครของเขมร เขมรต้องย้าย เมืองหลวงไปอยู่ป่าสานและพนมเปญปัจจุบัน ความสัมพันธ์ของเขมรกับไทยมีทั้งด้านการเมืองและศิลปวัฒนธรรมในด้านการเมือง

 ความสัมพันธ์กับมลายู

           จะเป็นไปในรูปของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพราะช่องแคบมะละกาเป็นทางผ่านที่จะไปสู่อินเดียและจีน อยุธยาจึงต้องการครอบครอง จึงขยายอำนาจทางทหารไปครอบครอง โดยปรากฏหลักฐานว่าอยุธยายกทัพ ไปโจมตีหลายครั้ง จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2054 โปรตุเกสยึดมะละกาได้ ส่วนหัวเมืองมลายูอื่นๆ ยังเป็นของอยุธยา จนถึงปี พ.ศ.2310 อยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2

 สรุป

           ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับการขยายเขตแดนและเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการค้า

           ดังนั้นจึงไม่พ้นการทำสงคราม โดยเฉพาะกับพม่าซึ่งเรามักเป็น ฝ่ายตั้งรับมากกว่าการยกทัพไปรุกราน อยุธยาต้องเสียกรุงแก่พม่าถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2112 สมัยพระมหินทราธิราช ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 สมัยพระเจ้าเอกทัศน์

10-ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักรอยุธยา

10-ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักรอยุธยา

ปัจจัยที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอาณาจักรอยุธยา

             อยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความได้เปรียบทางสภาพภูมิศาสตร์ คือตั้งอยู่ที่บริเวณแม่น้ำ 3 สาย  มาบรรจบกัน มีแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ทำให้อยุธยามีสภาพเป็นเกาะมีแม่น้ำล้อมรอบ
ถนนรอบเกาะยาวประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเพาะปลูกข้าวและยังอยู่ใกล้ทะเลพอสมควร ทำให้สามารถทำการค้าต่างประเทศได้โดยสะดวก

9-การสิ้นสุดอาฌาจัรกอยุธยา

9-การสิ้นสุดอาฌาจัรกอยุธยา

การสิ้นสุดอาฌาจัรกอยุธยา

อยุธยาซึ่งดำรงความเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 1893 และได้ถึงวาระสิ้นสุด
อันเนื่องมาจากพ่ายแพ้ต่อสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2310 อันมีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ
1. ปัญหาภายในราชอาณาจักร ขุนนางมีการแบ่งพรรคพวกและแย่งชิงอำนาจกันตลอดเกือบทุกรัชกาล ปัญหาใหญ่
คือ การแย่งชิงราชสมบัติระหว่างวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรกับผู้ที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อให้เป็นพระมหากษัตริย์สืบต่อมานั่นเอง
การดำรงตำแหน่งวังหน้าเป็นเวลานานตั้งแต่ต้นรัชกาลนั้น ทำให้สามารถสะสมอำนาจได้อย่างดี จึงมีผู้คนเป็นจำนวนมากให้การสนับสนุน
วังหน้าแย่งชิงอำนาจกับวังหลวง ถือเป็นความอ่อนแอของราชวงศ์
2. ปัญหาจากภายนอก พม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่อยุธยาต้องทำสงครามกันมาตลอด โดยเริ่มตั้งแต่ในสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
แห่งราชวงศ์ตองอู ที่มีกำลังทางทหารเข้มแข็งได้ขยายอำนาจ จนสามารถผนวกอาณาจักรล้านนาและมอญเข้าเป็นส่วนหนึ่งของพม่า
และการย้ายเมืองหลวงมายังหงสาวดี ทำให้อาณาเขตของพม่าอยู่ติดกับอาณาจักรอยุธยาและทำให้อยุธยาพ่ายแพ้แก่พม่า
เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2112
ในสมัยอยุธยาตอนปลายกษัตริย์พม่าราชวงศ์อลองพญาหรือราชวงศ์คองบองได้เข้ามารุกราดินแดนไทย
อันเป็นสงครามต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2303 เมื่อพระเจ้าอลองพญายกทัพเข้ามายึดมะริดและตะนาวศรี
ในครั้งนั้นพระเจ้าอลองพญาทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตระหว่างทางเสียก่อน ในปี พ.ศ. 2307 พระเจ้ามังระ
พระโอรสของพระเจ้าอลองพญา จึงยกทัพเข้ามาโจมตีอาณาจักรอยุธยาอีกครั้ง เริ่มจากเข้ายึดทวาย  มะริด
และตะนาวศรีก่อน จากนั้นยกทัพเข้ามาตีเมืองตามรายทางที่กองทัพผ่าน คือ เชียงใหม่  ลำพูน  และหัวเมืองฝ่ายเหนือของอาณาจักรอยุธยา
เมื่อ พ.ศ. 2309 พม่าก็ยกทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา และด้วยปัญหาภายในที่มีอยู่คือความแตกแยกของขุนนาง
ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกำลังไพร่พล นำมาซึ่งความไม่พร้อมในการรบ ทำให้อยุธยาพ่ายแพ้ต่อสงครามกับพม่าใน พ.ศ. 2310

8-พัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

8-พัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

พัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา

การเมืองการปกครอง

สถาบันพระมหากษัตริย์

            การปกครองของไทยในสมัยอยุธยา   เปลี่ยนแปลงต่างไปจากสุโขทัยเพราะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากเขมร (ขอม)  เข้ามามาก

โดยเฉพาะลัทธิเทวราช  ซึ่งเขมรรับมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง  ลัทธินี้องค์พระมหากษัตริยืทรงเป็นสมมุติเทพอยู่เหนือบุคคลสามัญ ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุด  ทรงไว้ซึ่งอาญาสิทธิ์เหนือผู้อื่นทั้งปวงในอาณาจักร คือ นอกจากจะทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินแล้ว ยังทรงเป็น เจ้าของชีวิตราษฎรอีกด้วย

            พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา  จึงมีฐานะแตกต่างจากพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยอย่างมาก  เช่น  การเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์   ต้องหมอบคลานแสดงความอ่อนน้อม  การพูดกับพระมหากษัตริย์ต้องใช้ราชาศัพท์  เมื่อเสด็จออกนอกพระราชวังราษฎรต้องหมอบกราบและก้มหน้า  มีกฎมณเฑียรบาลห้ามมองพระพักตร์ของพระมหากษัตริย์  เนื่องจากพระองค์เป็นสมมุติเทพและเพื่อการป้องกันการทำร้ายพระองค์

สิ่งเหล่านี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับประชาชนห่างเหินกัน  ความใกล้ชิดแบบบิดาปกครองบุตรแบบสุโขทัยจึงน้อยลงทุกขณะ

            นอกจากนี้ยังมีระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับความปลอดภัยของพระมหากษัตริย์และราชบัลลังก์อีก  เช่น  ให้ถือเขตพระบรมมหาราชวัง เป็นเขตหวงห้ามสำหรับประชาชนสามัญ  มีการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด  มีนายประตูดูแลตลอดเวลา  มีมาตราป้อนกันมิให้เจ้าเมือง ลูกขุน  ราชบุตร  ราชนัดดาติดต่อกัน  ต้องการให้แต่ละบุคคลแยกกันอยู่  เป็นการแยกกันเพื่อปกครอง  มิให้มีการรวมกันได้ง่ายเพราะอาจคบคิดกันนำภัยมาสู่บ้านเมืองหรือราชบัลลังก์ได้

การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  พ.ศ. 1893 – 1991

           การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น  ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เป็นรูปแบบการปกครองที่ได้รับอิธิพลจากเขมรและสุโขทัยในลักษณะต่อไปนี้

           1.การปกครองส่วนกลาง จัดการบริหารแบบจตุสดมภ์ หมายถึง การที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยตรง ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นกรมสำคัญ 4 กรม ปฏิบัติหน้าที่ดังนี้

กรมเวียง  หรือ กรมเมือง มีขุนเวียงเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของราษฎรทั่วราชอาณาจักร

กรมวัง    มีขุนวังเป็นหัวหน้าดูแลรักษาพระราชวัง  จัดงานพระราชพิธีต่างๆ และพิจารณาพิพากษาคดี

กรมคลัง  มีขุนคลังเป็นหัวหน้า รับผิดชอบด้านการเงินและการต่างประเทศทั่วราชอาณาจักร  ด้านการเงินทำหน้าที่เก็บภาษีอากรใช้จ่ายพระราชทรัพย์  จัดแต่งสำเภาหลวงออกค้าขาย ในด้านต่างประเทศทำสัญญาการค้าและติดต่อทางการทูตกับต่างประเทศ

กรมนา  มีขุนนาเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ดูแลเรือกสวนไร่นาทั่วราชอาณาจักร และจัดเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอในยามบ้านเมืองมีศึกสงคราม

           2. การปกครองส่วนภูมิภาค  การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค จัดตามแบบอาณาจักรสุโขทัย เพราะเมืองต่างๆ ส่วนใหญ่เคยอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยมาก่อน มีการแบ่งเมืองเป็นระดับชั้น มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง เมืองต่างๆ จัดแบ่งออกดังนี้

            เมืองหน้าด่าน หรือ เมืองป้อมปราการ เป็นเมืองที่มีความสำคัญในการป้องกันราชธานี  ระยะทางไปมาระหว่างเมองหน้าด่าน กับราชธานีใช้เวลาเดินทางภายใน  2 วัน มักเป็นเมืองใหญ่หรือเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศสตร์ พระมหากษัตริย์จะแต่งตั้งพระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงไปปกครอง บางที่จึงเรียกว่า เมืองลูกหลวง

หัวเมืองชั้นใน คือ เมืองที่อยู่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไป  พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้านายหรือขุนนางไปปกครองขึ้นตรงต่อเมืองหลวง

หัวเมืองชั้นนอก หรือ เมืองพระยามหานคร เป็นเมืองขนาดใหญ่  ที่มีประชาชนคนไทยอาศัย  อยู่ห่างจากราชธานีต้องใช้เวลาหลายวันในการติดต่อ  มีเจ้าเมืองปกครอง  อาจเป็นผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเมืองเดิม  หรือเป็นผู้ที่ทางเมืองหลวงต่างตั้งไปปกครอง

เมืองประเทศราช     เป็นเมืองที่อยู่ชายแดนของอาณาจักร   ชาวเมืองเป็นคนต่างชาติต่างภาษา  มีเจ้าเมืองเป็นคนท้องถิ่นจัดการปกครองภายในของตนเอง  แต้องส่งเครื่องบรรณาการมาถวายตามกำหนด ได้แก่  ยะโฮร์   เขมร  และเชียงใหม่ (ล้านนา)

การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง  พ.ศ. 1991 – 2072

            เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ (พ.ศ. 1991 – 2031) พระองค์ทรงปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่ เพราะเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังหละหลวม  กรุงศรีอยุธยาควบคุมดูแลเมืองในส่วนภูมิภาคได้ไม่ทั่วถึง  บรรดาเมืองต่างๆ  เบียดบังรายได้จากภาษีอากรไว้ ทำให้ราชธานีได้รับผลประโยชน์ ไม่เต็มที่  นอกจากนั้นในระยะที่มีการผลัดแผ่นดิน  หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงเข้มแข็ง มีอำนาจ  ก็จะไม่มีปัญหาทางการปกครอง  แต่หากกษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงอ่อนแอไม่เด็ดขาดหรือยังทรงพระเยาว์อยู่  บรรดาเมืองประเทศราช และเมืองพระยามหานคร  มักฉวยโอกาสแยกตนเป็นอิสระอยู่เสมอ  นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เจ้าเมืองมีอำนาจมากและมักจะยกกำลังทหารทหารเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติอยู่เนืองๆ และอาณาจักรอยุธยาในสมัยนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมากกว่าเดิม  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงต้องปรับปรุงการปกครองใหม่  มีลักษณะสำคัญสองประการ  คือ  จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง  ทำให้ราชธานีมีอำนาจและมีการควบคุมเข้มงวดขึ้น  และแยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน (เป็นครั้งแรก)  สาระสำคัญที่เปลี่ยนไปมีดังนี้

           1. การปกครองส่วนกลาง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้มีตำแหน่งมุหกลาโหมและสมุหนายก สมุหกลาโหม รับผิดชอบด้านการทหาร มีหน้าที่บังคับบัญชาตรวจตราการทหาร  เกณฑ์ไพร่พลในยามมีศึก ยามสงบรวบรวมผู้คน อาวุธ เตรียมพร้อม สมุหนายกทำหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั่วราชอาณาจักรและดูแลจดุสดมภ์  พระองค์ได้ทรงกำหนดหน่วยงานระดับกรม(เทียบได้กับกระทรวงในปัจจุบัน)  ขึ้นอีก  2  กรม  จึงมีหน่วยงานทางการปกครอง  6  กรม  กรมใหม่ที่จัดตั้งขึ้นมีเสนาบดีรับผิดชอบในหน้าที่  ดังนี้

กรมมหาดไทย      มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก   มีฐานะเป็นอัตรมหาเสนาบดี  มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
กรมกลาโหม         มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม   มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี  มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ       พร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงกรมจตุสดมภ์เสียใหม่   ให้มีเสนาบดีรับผิดชอบงานในหน้าที่ของแต่ละกรม คือ
กรมเมือง              มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
กรมวัง                  มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
กรมคลัง               มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
กรมนา                 มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี

            2.การปกครองส่วนภูมิภาค   สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้ยกเลิกเมืองหน้าด่านหรือเมืองลูกหลวง ให้จัดการปกครองหัวเมืองในส่วนภูมิภาค ดังนี้

หัวเมืองชั้นใน จัดเป็นเมืองชั้นจัตวา  ผู้ปกครองเมืองเรียกว่า  “ผู้รั้ง”  ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง  ต้องปฏิบัติตามคำ สั่งของราชธานี  เป็นเมืองที่ตั้งอยู่โดยรอบราชธานี เช่น ชัยนาท นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี เป็นต้น พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยาไปทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง

หัวเมืองชั้นนอก ได้แก่เมืองที่อยู่ถัดจากหัวเมืองชั้นในออกไป (ซึ่งเป็นเมืองพระยามหานครในสมัยก่อน)จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท  เอก  ตามขนาดและความสำคัญของเมืองนั้นๆ  อาจมีเมืองเล็กขึ้นด้วยพระมหากษัตริย์ทารงแต่งตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์หรือขุนนางผู้ใหญ่ออกไปปกครองเป็นเจ้าเมือง  มีอำนาจเต้มในการบริหารราชการภายในเมือง

เมืองประเทศราช  โปรดฯ ให้มีการจัดการปกครองเหมือนเดิม คือให้มีเจ้านายในท้องถิ่น  เป็นเจ้าเมือง  หรือกษัตริย์ มีแบบแผนขนอบธรรมเนียมเป็นของตนเอง  พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้ทรงแต่งตั้ง  เมืองประเทศราชมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
การจัดการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย  พ.ศ. 2072 – 2310

             การจัดการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางตามที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงวางรากฐานไว้คงใช้มาตลอดแต่ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพบ้านเมืองยิ่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์  (พ.ศ. 2199 – 2231)    ทรงให้ยกเลิกการแยกความรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดีเกี่ยวกับงานด้านพลเรือนของสมุหนายก  และงานด้านทหารของสมุหกลาโหม  โดยให้สมุหกลาโหมรับผิดชอบ
ทั้งด้านทหารและพลเรือน  ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือและหัวเมืองอีสาน  ส่วนหัวเมืองตอนกลาง  และหัวเมืองชายทะเลตะวันออก  ให้อยู่ในอำนาจของเมืองหลวงโดยตรง  ทั้งนี้ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่าการแยกกิจการฝ่ายทหารและฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนจากกันอย่างเด็ดขาด ไม่อาจทำได้อย่างได้ผลดี  โดยเฉพาะในยามสงคราม  บ้านเมืองต้องการกำลังพลในการสู้รบจำนวนมาก  ชายฉกรรจ์ต้องออกรบเพื่อชาติบ้านเมืองทุกคนจึงเป็นการยากในทางปฏิบัติ  อีกประการหนึ่ง  มีบทเรียนที่แสดงให้เห็นว่า  เมื่อให้สมุหกลาโหมคุมกำลังทหารไว้มากทำให้สามารถล้มราชวงศ์กษัตริย์ลงได้

7-พระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา

7-พระมหากษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา


            กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทยอยู่นาน 417 ปี มีพระมหกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 34พระองค์นับรัชกาลได้  35  รัชกาล  ดังนี้

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)

สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๗๕ ทรงสถาปนาอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ ปีขาล โทศก ณ วันศุกร์ เดือนห้า เพลาสามนาฬิกา ห้าบาท ได้รับถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรบรมบพิตร พระเจ้าอยู่หัว กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยา ฯ ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.๑๘๙๓ - ๑๙๑๒ 

สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยา ณ ชัยภูมิที่เอื้ออำนวยทั้งในด้านความมั่นคงปลอดภัยจากข้าศึกและความอยู่ดีกินดีของชาวอยุธยา คือตั้งอยู่บนดินดอนสามเหลี่ยมที่มีแม่น้ำล้อมรอบ ตัวเมืองมีลักษณะเป็นเกาะ สะดวกในการป้องกันตัวเมืองจากผู้เข้ามารุกราน และพื้นที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม เป็นศูนย์กลางทางการค้าและการคมนาคม อันเนื่องจากมีแม่น้ำสามสายคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ไหลมาบรรจบกัน ควบคุมเส้นทางคมนาคมทางน้ำของบรรดาบ้านเมืองที่ อยู่เหนือขึ้นไปที่จะออกสู่ทะเล

สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงนำลักษณะการปกครองทั้งของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งของกรุงสุโขทัย และของขอม มาประยุกต์ใช้กับกรุงศรีอยุธยา ได้จัดการปกครองบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ในราชอาณาจักร ออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และหัวเมืองประเทศราช ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรส ไปครองเมืองลพบุรี และขุนหลวงพะงั่ว ผู้เป็นพี่พระมเหสี ไปครองเมืองสุพรรณบุรี

ในด้านการแผ่ขยายพระราชอาณาเขต ในปี พ.ศ.๑๘๙๕ ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพไปตีนครธม ราชธานีของขอม ได้สำเร็จนับเป็นการทำสงครามครั้งแรกของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปี พ.ศ.๑๘๙๗ ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพไปยึดเมืองชัยนาท ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรสุโขทัย เป็นผลให้พระเจ้าลิไทได้ส่งราชทูตมาขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา และขอเมืองชัยนาทคืน นอกจากขอมและสุโขทัยแล้ว พระองค์ได้ทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ เพื่อประโยชน์ทางการค้าและการเมือง โดยได้ทรงแต่งราชทูต ไปเจริญทางพระราชไมตรี และการค้ากับจีน อินเดีย เปอร์เซีย ลังกา ชวา มลายูและญวน

สมเด็จพระเจ้าอู่ทองครองราชย์ได้ ๑๙ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๒ พระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา

สมเด็จพระราเมศวร

สมเด็จพระราเมศวร ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ทรงครองราชย์สองครั้งคือ ครั้งแรกต่อจากสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง 

ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๑๒ - ๑๙๒๓ และครั้งที่สอง ต่อจากสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ระหว่างปี พ.ศ.๑๙๓๑ - ๑๙๓๘

           ก่อนขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระราเมศวรได้รับโปรดเกล้า ฯ จากสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ให้ครองเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง 

และเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อทางกัมพูชาไม่เป็นไมตรีกับทางกรุงศรีอยุธยาที่เรียกว่า ขอมแปรพักตร์  

ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกทัพไปตีนครธม ราชธานีของขอม ร่วมกับขุนหลวงพะงั่ว จนตีนครธมได้สำเร็จ

           ในปี พ.ศ.๑๙๑๓ ขุนหลวงพะงั่วได้ยกกำลังจากเมืองสุพรรณบุรี มายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระราเมศวรทรงเชิญเสด็จเข้าพระนครแล้ว

ถวายราชสมบัติให้ ส่วนพระองค์เองขึ้นไปครองเมืองลพบุรีดังเดิม

           เมื่อขุนหลวงพะงั่วสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๑๙๓๑ สมเด็จพระเจ้าทองลันผู้เป็นพระราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์ได้เจ็ดวัน สมเด็จพระราเมศวรก็ยกกำลัง

จากเมืองลพบุรี จับพระเจ้าทองลันสำเร็จโทษ แล้วขึ้นครองราชย์ต่อมา

           ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงทำสงครามแผ่ขยายราชอาณาเขตกรุงศรีอยุธยาออกไปยังอาณาจักรล้านนา และอาณาจักรขอมกล่าวคือ

 ในปี พ.ศ.๑๙๓๓ ทรงยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ ในชั้นแรกเจ้าเมืองเชียงใหม่ขอสงบศึก และจะนำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย 

แต่สุดท้ายไม่ได้ทำตามสัญญา พระองค์จึงยกกำลังเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้ จับนักสร้าง โอรสพระเจ้าเชียงใหม่ได้ แล้วกวาดต้อนผู้คนลงมาทางใต้ 

ให้ไปอยู่ที่เมืองจันทบุรี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา

           หลังจากตีเชียงใหม่แล้วก็ได้ยกกำลังไปทำสงครามกับอาณาจักรขอม เนื่องจากทางขอมได้ยกกำลังมากวาดต้อนผู้คนชาวเมืองจันทบุรี

และเมืองชลบุรี ไปประมาณ ๖,๐๐๐ - ๗,๐๐๐ คน พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาไชยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้า เมื่อตีเมืองขอมได้แล้วจึงได้นำชาวเมืองจันทบุรี

และเมืองชลบุรีกลับคืนมา แล้วโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาไชยณรงค์ปกครองเมืองขอม พร้อมกับกำลังพล ๕,๐๐๐ คน  ต่อมาเมื่อญวนยกกำลังมารบ พระองค์จึงให้พระยาไชยณรงค์กวาดต้อนผู้คนมายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระราเมศวรเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๘ ครองราชย์ได้ ๘ ปี

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)

           สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ มีพระนามเดิมว่า ขุนหลวงพะงั่ว ทรงเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีในสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง เดิมครองเมืองสุพรรณบุรี 

พระองค์ทรงเป็นนักรบที่สามารถ ตั้งแต่ในรัชสมัยพระเจ้าอู่ทอง

           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้ยกกำลังไปตีหัวเมืองเหนือหลายครั้ง โดยได้ไปตีเมืองชากังราวสามครั้ง เนื่องจากเป็นเมืองที่กรุงสุโขทัยใช้เป็นเมืองหน้าด่าน จากการรุกเข้าโจมตีของกรุงศรีอยุธยา

           ขุนหลวงพะงั่วได้ส่งราชทูตไปเจริญพระราชไมตรีกับจักรพรรดิจีนหลายครั้ง มีการแลกเปลี่ยนเครื่องราชบรรณาการซึ่งกัน และกันทางไทยได้ส่งช้าง เต่าหกขา หมีดำ ลิงเผือกและของพื้นเมืองอื่น ๆ ไปถวาย ทางจีนได้ส่งผ้าแพรดอกขาว ผ้าแพรสี ผ้าไหมสีเงินทอง และปฏิทินหลวงมาถวาย

           ในด้านพระพุทธศาสนา พระองค์ไม่เพียงแต่เป็นองค์เอกอัครศาสนูปปถัมภกเช่นเดียวกันกับพระมหากษัตริย์องค์ก่อน และแม้ว่าจะอยู่ในช่วงต้น ๆ ของการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และต้องทำศึกสงครามเพื่อความมั่นคงปลอดภัยของพระราชอาณาจักร พระองค์ยังได้สร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาขนาดใหญ่ คือ พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งมีความสูงถึง ๑๙ วา ขุนหลวงพะงั่วเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๑ ครองราชย์ได้ ๑๘ ปี

สมเด็จพระเจ้าทองลัน (ทองจันทร์)

           สมเด็จพระเจ้าทองลัน ทรงเป็นพระราชโอรสในขุนหลวงพะงั่ว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๗ เมื่อขุนหลวงพะงั่ว เสด็จสวรรคตขณะที่ทรงยกทัพไปตีเมืองชากังราวครั้งที่สี่ บรรดาข้าราชการจึงได้อัญเชิญพระองค์ซึ่งทรงเป็นรัชทายาทขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๑ ขณะที่มี พระชนมายุได้ ๑๕ พรรษาพระเจ้าทองลันครองราชย์อยู่ได้เจ็ดวัน ก็เสด็จสวรรคตในปีเดียวกัน

สมเด็จพระรามราชาธิราช

          สมเด็จพระรามราชาธิราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราเมศวร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๙ ที่เมืองลพบุรี ทรงพระนามว่า เจ้าพระยารามเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๓๘ พระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ห้าของกรุงศรีอยุธยา

           ในห้วงเวลาที่พระองค์ครองราชย์ บ้านเมืองเป็นปกติสุขดี พระองค์ได้ทรงส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๙๔๐และก็ได้ส่งทูตแลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรีอยู่เสมอในระยะต่อ ๆ มา

           สมเด็จพระรามราชาธิราช พยายามที่จะขยายอำนาจไปยังอาณาจักรล้านนา แต่ไม่เป็นผล ทางอาณาจักรสุโขทัยก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจ และยังไม่ไว้วางพระทัยเจ้านครอินทร พระราชนัดดาในขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งทางพระเจ้ากรุงจีนให้ความสนิทสนม อีกทั้งยังยกย่องว่า
เป็นกษัตริย์อีกองค์หนึ่ง  ในปลายรัชสมัยของพระองค์ ได้มีข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดี และเป็นผู้บังคับบัญชาทหาร เจ้าพระยามหาเสนาบดีได้หนีไปอยู่ฟากปทาคูจามแล้วได้รวมกับเจ้านครอินทร์ ยกกำลังจากสุพรรณบุรีมายึดวังหลวง แล้วทูลเชิญเจ้านครอินทร์ขึ้นครองราชย์กรุงศรีอยุธยา ส่วนสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ไปครองเมืองปทาคูจาม เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๒ พระองค์ทรงครองราชย์กรุงศรีอยุธยาได้ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคตปีใดไม่ปรากฏ

สมเด็จพระนครินทราธิราช (พระนครอินทร์)

           สมเด็จพระนครินทร์ ฯ ทรงเป็นพระราชนัดดาในขุนหลวงพะงั่ว เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๒ ทรงครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๒  เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่หกของกรุงศรีอยุธยา

           ในปี พ.ศ.๑๙๖๒ พระยาบาลเมืองและพระยารามได้สู้รบชิงราชสมบัติกรุงสุโขทัย  พระองค์ได้ทรงเข้าไปไกล่เกลี่ย แล้วทรงอภิเศกพระยาบาลเมืองให้ครองกรุงสุโขทัย และพระยารามราชครองเมืองศรีสัชนาลัย หลังจากนั้นได้ทรงปรับปรุงการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ของกรุงศรีอยุธยาใหม่ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าอ้ายพระยาไปครองเมืองสุพรรณซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง เจ้ายี่พระยาไปครองเมืองนครสวรรค์  และเจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาท ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านเหนือ
           สมเด็จพระนครินทร์ ฯ เคยเสด็จไปเมืองจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๐ เมื่อครั้งยังครองเมืองสุพรรณบุรี เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้วก็ได้ทรงส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจีน สมเด็จพระนครินทร์ ฯ ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๗

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)

           เจ้าสามพระยาเป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในสมเด็จพระนครินทร์ ฯ   จากการแย่งราชสมบัติของเจ้าอ้ายพระยา กับเจ้ายี่พระยา จนสิ้นพระชนม์ไปทั้งสององค์ เจ้าสามพระยาจึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๗ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่เจ็ดแห่งกรุงศรีอยุธยา

           พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในการปกครอง และการรบ ดังจะเห็นได้จากกรณีเมืองเหนือ และเมืองกัมพูชา กล่าวคือเมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ พระองค์ได้ทรงยกกองทัพไปล้อมพระนครหลวง (นครธม) ของกัมพูชาอยู่ถึงเจ็ดเดือนจึงสามารถยึดได้ นับเป็นการขยายพระราชอาณาาเขตของ อาณาจักรอยุธยาตอนต้นอย่างเป็นรูปธรรม

           ในปี พ.ศ.๑๙๘๕ พระองค์ได้ยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่สำเร็จ จึงได้ยกกองทัพไปตีเชียงใหม่อีกครั้ง เมื่อ พ.ศ.๑๙๘๘ ได้หัวเมืองชายแดนของเชียงใหม่ แต่ทรงประชวรเสียก่อน จึงทรงยกกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยา

           ในรัชสมัยของพระองค์นอกจากทำสงครามขยายพระราชอาณาเขตแล้ว ยังได้ปรับปรุงด้านการปกครอง โดยได้ทรงตรากฎหมายลักษณะอาญาศึกอยู่ในลักษณะกบฎศึก) ขึ้นในกรุงศรีอยุธยา

           ในด้านการพระศาสนา ได้ทรงสร้างวัดราชบูรณะ ประกอบด้วยพระธาตุ และพระวิหาร โดยสร้างไว้ ณ บยริเวณที่ถวายพระเพลิงศพเจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา
           เจ้าสามพระยาสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๑ ครองราชญ์ได้ ๒๔ ปี

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชยสภพ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๔ พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒  เมื่อพระองค์มีพระชนม์มายุได้เจ็ดพรรษา พระราชบิดาได้พระราชทานพระนามตามพระราชประเพณีว่า สมเด็จพระราเมศวรบรมไตรโลกนาถบพิตรและเมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เสด็จไปครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ โดยได้ประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก 

เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒เสด็จสวรรคต พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๙๑ พระชนมายุได้ ๑๗ พรรษา เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่แปดของกรุงศรีอยุธยา

           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงมีพระราชสมัญญาอีกพระนามหนึ่งว่า พระเจ้าช้างเผือก เนื่องจาก เมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๔ พระองค์ได้ทรงรับช้างเผือกซี่งนับเป็นช้างเผือกช้างแรกของกรุงศรีอยุธยา

           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปฏิรูปการปกครอง โดยทรงรวมอำนาจจากการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลางคือ ราชธานี และแยกฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกันคือ ฝ่ายทหารมีสมุหพระกลาโหมเป็นหัวหน้า รับผิดชอบ ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก เป็นหัวหน้ารับผิดชอบ มีผู้ช่วยคือ จตุสดมภ์ได้แก่ กรมเมือง กรมวัง กรมพระคลัง และกรมนา ในกรณีที่เกิดศึกสงครามทั้งฝ่ายทหาร และฝ่ายพลเรือนจะต้องนำหน้าในกองทัพร่วมกัน

           การปกครองในส่วนภูมิภาค ได้ยกเลิกระบบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ แต่เดิมที่แบ่งออกเป็นเมืองลูกหลวง หลานหลวง แล้วระบบการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ ดังนี้

หัวเมืองชั้นใน  เช่น เมืองราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น จัดเป็นเมืองจัตวา พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมไปปกครอง แต่สิทธิอำนาจทั้งหมดยังขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์

หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร  เช่น เมืองพิษณุโลก สุโขทัย นครราชสีมา และทวาย จัดเป็น เมือง เอก โท ตรี  พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไปเป็นเจ้าเมืองมีอำนาจบังคับบัญชาเป็นสิทธิขาด เป็๋นผู้แทนองค์พระมหากษัตริย์ มีกรมการปกครองในตำแหน่งเมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับของทางราชธานี

เมืองประเทศราช ทางกรุงศรีอยุธยาคงให้เจ้าเมืองของเมืองหลวงนั้นปกครองกันเอง โดยพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเจ้าเมือง เมืองประเทศราชจะต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองกับเครื่องราชบรรณาการทุกรอบสามปี และต้องส่งกองทัพมาช่วยทางราชธานี เมื่อเกิดการสงคราม

           สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้จัดเป็นหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านปกครองดูแล ตำบล มีกำนันเป็นหัวหน้า  แขวง มีหมื่นแขวงเป็นหัวหน้าการปกครองท้องถิ่นดังกล่าวได้ใช้สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

           มีการแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุดคือ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา และเจ้าพระยามีการกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ และได้อาศัยใช้เป็นเกณฑ์กำหนดการมีที่นาและการปรับไหมตามกฎหมาย

           ในปี พ.ศ.๒๐๐๑ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาล ขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง แบ่งออกเป็นสามแผนคือ 

 พระตำรา ว่าด้วยแบบแผนและการพระราชพิธีต่าง ๆ พระธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องตำแหน่งหน้าที่ราชการ พระราชกำหนด เป็นข้อบังคับในพระราชสำนัก

           ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวงนับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษาและวรรณคดีของไทยนอกจากนี้ยังมีลิลิตพระลอ ซึ่งเป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิตของไทย

           สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๑ ครองราชย์ได้ ๔๐ ปี พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ๑๕ ปีและประทับที่เมืองพิษณุโลก ๔๐ ปี

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (พระอินทราชา)

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ พระนามเดิมว่า พระอินทราชา ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๑ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่เก้าของกรุงศรีอยุธยา
           ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในช่วงที่ทำสงครามกับอาณาจักรล้านนาหลายครั้ง พระองค์ได้เสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลกเป็นเวลา ๒๕ ปี จนเสด็จสวรรคต ในห้วงเวลาดังกล่าว สมเด็จพระบรมราชาจึงได้ครองกรุงศรีอยุธยา ที่เสมือนมีฐานะเมืองลูกหลวง ได้มีส่วนรับพระราชภาระจากพระราชบิดาให้เป็นไปด้วยดี

           ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองทวาย คืนมาจากกรุงหงสาวดี และได้กวาดต้อนผู้คนมา เป็นจำนวนมาก
           สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๔ ครองราชย์ได้ ๓ ปี

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒

           สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ พระนามเดิมว่า พระเชษฐาธิราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จพระราชสมภพมื่อปี พ.ศ.๒๐๑๕ ที่เมืองพิษณุโลก ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้อภิเษกเป็นพระมหาอุปราชเมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา เมื่อสมเด็จพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ถวายราชสมบัติแก่พระบรมราชาธิราชที่ ๓ ผู้ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดา และครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ก่อนแล้ว เนื่องจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก พระองค์จึงอยู่ในฐานะพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓เสด็จสวรรคต พระองค์จึงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๓๔ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่สิบของกรุงศรีอยุธยา

           สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ทรงจัดให้มีการจัดระเบียบกองทัพ และแต่งตำราพิชัยสงคราม ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดทำบัญชีกำลังพล

 เมื่อปี พ.ศ.๒๐๖๑ เพื่อเกณฑ์พลเมืองเข้ารับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยกำหนดให้ไพร่ที่เป็นชาย อายุตั้งแต่ ๑๘ - ๖๐ ปี ต้องเข้ารับราชการทหาร ยกเว้นผู้ที่มีบุตรชายแล้วเข้ารับราชการ ตั้งแต่สามคนขึ้น ผู้เป็นบิดาจึงพ้นหน้าที่รับราชการทหาร 

ชายที่มีอายุ ๑๘ ปี ต้องขึ้นทะเบียนทหารเพื่อเข้ารับการฝึกหัดทหารเรียกว่า ไพร่สม  เมื่ออายุ ๒๐ ปี จึงเรียกเข้ารับราชการเป็นทหารกอง

ประจำการเรียกว่า ไพร่หลวง ส่วนพวกที่ไม่สามารถมารับราชการทหารได้ ก็ต้องมีของมาให้ราชการเป็นการชดเชยเรียกว่า ไพร่ส่วย

           ได้มีการตั้งกรมพระสุรัสวดี ให้เป็นหน่วยรับผิดชอบ โดยมีออกพระราชสุภาวดี เป็นเจ้ากรมรับผิดชอบในมณฑลราชธานี พระสุรัสวดีขวา

    รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือ และพระสุรัสวดีซ้าย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้

           ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ พระเมืองแก้วเจ้าเมืองเชียงใหม่ ยกทัพมาตีกรุงสุโขทัย สมเด็จพระรามาธิบดี ได้ทรงออกทัพขึ้นไปช่วยโจมตี

จนกองทัพเชียงใหม่  แตกกลับไป

           ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระองค์ได้ทรงยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองลำปางได้ เมื่อเสร็จยกทัพกลับอยุธยา พระองค์ได้ทรง

สถาปนาพระอาทิตย์วงศ์ พระราชโอรสให้เป็นพระบรมราชาตำแหน่งสมเด็จหน่อพระพุทธางกูร หรือสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้ารัชทายาท 

โปรดเกล้า ฯ ให้ปกครองหัวเมืองเหนือ ประทับอยู่ ณ เมืองพิษณุโลก ทำให้ราชอาณาจักรล้านนาไม่มารบกวนเมืองเหนือ

อีกตลอดรัชสมัยของพระองค์

           นอกจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๓ ยังได้ส่งกองทัพทั้งทางบก และทางเรือ ไปทำสงครามกับมะละกา ถึงสองครั้ง

เข้าโจมตีชายฝั่งตะวันออกและ ตะวันตก แม้ไม่ประสบผลสำเร็จแต่ก็ทำให้มะละกาได้ตระหนักถึงอำนาจของอยุธยาที่มีอิทธิพล

เหนือหัวเมืองในคาบสมุทรภาคใต้ โดยมีเมืองนครศรีธรรมราช ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ใช้เป็นฐานในการควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ 

ในคาบสมุทรแห่งนี้ กษัตริย์มะละกา ผู้ปกครอง ปัตตานี ปาหัง กลันตัน และเมืองท่าที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทั้งหมด ต้องส่งบรรณาการต่อกษัตริย์

สยามทุกปี

           ในปี พ.ศ.๒๐๕๔ ทูตนำสารของ อัลฟองโซ เดอร์ก แม่ทัพใหญ่ของโปรตุเกสได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรี

และการค้าพระองค์ทรงตอบรับไมตรีจากโปรตุเกส และได้ทำสัญญาทางราชไมตรี และทางการค้าต่อกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๙ นับเป็นสัญญา

ฉบับแรกที่ไทยทำกับต่างประเทศ

           ผลจากการเข้ามาสร้างไมตรีของชาวโปรตุเกส ได้มีการนำเอาอาวุธแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาถวาย ได้แก่ ปืนประเภทต่าง ๆ 

และกระสุนดินดำ ต่อมาชาวโปรตุเกสได้เข้ามาเป็นทหารอาสาฝรั่ง ได้ช่วยฝึกวิธีการใช้อาวุธแบบตะวันตก

           สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๗๒ ครองราชย์ได้ ๓๘ ปี

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔

           สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ หรืออีกพระนามหนึ่งว่าสมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่

 ๒ พระนามเดิมว่า พระอาทิตยวงศ์ และทรงเป็นรัชทายาท ภายหลังได้รับโปรดเกล้า ฯ สถาปนาเป็นพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร 

ครองเมืองพิษณุโลก พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒ เป็นพระมหากษัตริย์ ลำดับที่ ๑๑ ของกรุงศรีอยุธยา 

มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า พระรัษฎาธิราชธิราช

           พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้พระไชยราชา ผู้เป็นพระอนุชาต่อพระมารดา ไปครองเมืองพิษณุโลก 

พระองค์ทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเมืองเกศเกล้าพระเจ้าเชียงใหม่ เพื่อยุติความบาดหมางในกาลก่อน ทำให้ทางพระเจ้าเชียงใหม่ 

ไม่ได้มีปัญหากับกรุงศรีอยุธยาตลอดรัชสมัยของพระองค์

           พระองค์มีพระปรีชาสามารถในการปกครองและการรบ และการปกครอง การติดต่อกับโปรตุเกส ทำให้กรุงศรีอยุธยา

ได้รับประโยชน์จากการค้าขายกับโปรตุเกส โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการทหาร เช่น การทำปืนไฟ  การสร้างป้อมปราการที่สามารถ

ป้องกันปืนไฟได้ ที่เมืองสวรรคโลก สุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา นอกจากนั้นให้ชาวโปรตุเกสตั้งเป็นกองอาสา เข้าร่วมรบกับข้าศึก

ด้วยชาวโปรตุเกส ก็ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการได้เข้ามาค้าขาย และเผยแพร่คริสตศาสนานิกายโรมันคาธอลิก รวมทั้งการ

เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่กรุงศรีอยุธยาอีกด้วย

           ในด้านการทหาร พระองค์ทรงทำศึกกับล้านช้าง (อาณาจักรหลวงพระบาง) และพะโค (หงสาวดี) หลายครั้ง ในปลายรัชสมัยของพระองค์ 

ได้ทรงยกกองทัพไปประชิดแดนพะโค และยึดเมืองบางเมืองได้แล้วยกกองทัพกลับ พระองค์ไปทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ

 และเสด็จสวรรคต

           สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๖ ครองราชย์ได้ ๔ ปี



พระรัษฎาธิราช

           พระรัษฎาธิราชทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๔ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒ พระราชชนนี 

ทรงมีเชื้อสายราชวงศ์เวียงไชยนารายณ์ เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคตโดยที่มิได้ทรงแต่งตั้งรัชทายาท บรรดามุข

อำมาตย์เสนาบดี จึงพร้อมใจกันอัญเชิญพระรัษฎาธิราชกุมาร ซึ่งมีพระชนมายุเพียงห้าพรรษา เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๖ 

ทรงพระนามว่า พระรัษฎาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๒ ของกรุงศรีอยุธยา

           เนื่องจากพระรัษฎาธิราชยังทรงพระเยาว์มาก การบริหารราชการแผ่นดินจึงตกเป็นหน้าที่ของอัครมหาเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่

สองคนคือ สมุหนายก และสมุหกลาโหม ปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยของพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์

ได้ห้าเดือน บ้านเมืองเกิดระส่ำระสาย พระไชยราชา ผู้เป็นพระปิตุลา (อา) ซึ่งครองเมืองพิษณุโลกอยู่ ได้ทรงยกกองทัพมายึดอำนาจ

การปกครอง เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๗ แล้วเสด็จขึ้นครองราชย์แทน ทรงพระนามว่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช



สมเด็จพระไชยราชาธิราช

           สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ไปครองเมืองพิษณุโลก 

เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๗ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๓ ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์มีพระราช โอรสสอง

พระองค์อันประสูติแต่ท้าวศรีสุดาจันทร์พระสนมเอก ทรงพระนามว่า พระยอดฟ้า และพระศรีศิลป์

           ในรัชสมัยของพระองค์ได้เกิดสงครามไทยกับพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๑ เมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ แห่งกรุงหงสาวดี ได้ยกกองทัพมาตี

เมืองเชียงกราน อันเป็นหัวเมืองชายแดนทางทิศตะวันตกของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกทัพไปตีกลับคืนมา ในการทัพครั้งนี้

 พระองค์นำทหารอาสาชาวโปรตุเกสไปด้วย อาสาชาวโปรตุเกสมีความชำนาญในการใช้ปืนไฟ และได้เริ่มใช้ปืนไฟ ในการรบเป็นครั้งแรก 

กองทัพไทยสามารถยึดเมืองเชียงกรานกลับคืนมาได้

           เมื่อพระองค์ยกทัพกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ทรงปูนบำเหน็จความชอบแก่กองอาสาชาวโปรตุเกส พระราชทานที่ดิน

ให้ตั้งบ้านเรือนที่บริเวณตำบลบ้านดิน เหนือคลองตะเคียน ซึ่งต่อมาเรียกว่าบ้านโปรตุเกส และทรงอนุญาตให้สร้างวัดคริสตศาสนานิกาย

โรมันคาธอลิก ทำให้มีบาดหลวงเขามาเผยแพร่คริสตศาสนา ในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้น

           เกิดการผลัดแผ่นดินขึ้นที่เชียงใหม่ พระเมืองเกศเกล้าถูกลอบปลงพระชนม์ บรรดาท้าวพระยาเมืองลำปาง เมืองเชียงราย 

และเมืองพานได้ ยกกำลังเข้ายึดเมืองเชียงใหม่ได้ แล้วพร้อมใจกันแต่งตั้งพระนางมหาเทวีจิรประภา พระธิดาพระเมืองเกศเกล้า

 ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระไชยราชาธิราชทรงยกกองทัพไปถึงเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๑ พระนางมหาเทวีจิรประภาได้ออกมา

ถวายการต้อนรับ และขอเป็นไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในขณะนั้นพระนางมหาเทวี ฯ ทรงเกรงอานุภาพของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ซึ่งได้ขยาย

อาณาเขตมาจรดเขตของเชียงใหม่ จึงได้ยอมอ่อนน้อมต่อฝ่ายพม่า สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงพิจารณาเห็นว่า ถ้าปล่อยให้สถานการณ์

เป็นไปเช่นนี้ ในอนาคตพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ จะเข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงได้ยกทัพเข้าตีเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๘ โดยได้ตีนครลำปาง

 และนครลำพูน พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยาพิษณุโลกเป็นทัพยกไปเชียงใหม่ พระนางมหาเทวี ฯ จึงเห็นสถานการณ์เช่นนั้นแล้ว 

จึงทรงต้อนรับพญาพิษณุโลก และทรงยอมเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา

           เมื่อเสร็จศึกเชียงใหม่ ระหว่างทางที่เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้ประชวร และเสด็ตสวรรคตระหว่างทาง ซึ่งเรื่องนี้มีหลักฐาน

บางฉบับขยายความว่า สมเด็จพระไชยราชาเสด็จกลับถึงกรุงศรีอยุธยาแล้วจึงประชวร และเสด็จสวรรคต เนื่องจากท้าวศรีสุดาจันทร์ 

พระสนมเอกซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร ขณะที่พระองค์เสด็จไปราชการสงคราม คบคิดกับขุนวงวรศาธิราชวางยาพิษพระองค์ 

ทำให้พระองค์ประชวร จึงได้ทรงมอบราชสมบัติแก่พระยอดฟ้าพระราชโอรสแล้วสวรรคต

           ในรัชสมัยของพระองค์ได้โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดบางกอก เนื่องจากแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากน้ำไปถึง กรุงศรีอยุธยามีความคดเคี้ยว

หลายแห่ง ทำให้เสียเวลาในการเดินทางเรือ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า แผ่นดินระหว่างคลองบางกอกใหญ่ และคลองบางกอกน้อยแคบ 

สามารถเดินถึงกันได้ ผลจากการขุดคลองลัดบางกอกทำให้สายน้ำเปลี่ยนทางเดินจนคลองลัดบางกอกกลายเป็นลำน้ำเจ้าพระยา 

จึงโปรดเกล้าให้ขุดคลองลัด ณ บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ด้านท่าราชวรดิษฐ์ในปัจจุบัน

           สมเด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๙ ครองราชย์ได้ ๑๒ ปี



สมเด็จพระยอดฟ้า

           สมเด็จพระยอดฟ้าหรือพระแก้วฟ้า ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราช กับพระสนมเอกท้าวศรีสุดาจันทร์ 

เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๙ เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๐๘๙ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๔ ของกรุงศรีอยุธยา

           เนื่องจากสมเด็จพระยอดฟ้ายังทรงพระเยาว์อยู่มาก เสนาบดีชั้นผู้ใหญ่จึงได้ทูลเชิญท้าวศรีสุดาจันทร์ ผู้เป็นพระราชมารดาขึ้นเป็น

ผู้สำเร็จราชการ นับเป็นยครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่สตรีเป็นผู้สำเร็จราชการ พระองค์ครองราชย์ได้เพียงสองปี ก็ถูกขุนวรวงศาธิราช 

ผู้มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับท้าวศรีสุดาจันทร์ ชิงราชบัลลังก์ได้ แล้วนำพระองค์ไปสำเร็จโทษ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑



ขุนวรวงศาธิราช

           ขุนวรวงศาธิราช ตำแหน่งเดิมคือ พันบุตรศรีเทพ เป็นผู้เฝ้าหอพระหน้าพระบรมมหาราชวัง เมื่อสมเด็จพระไชยราชาธิราชสวรรคต 

สมเด็จพระยอดฟ้าขึ้นครองราชย์ได้สองปี เนื่องจากพระองค์ทรงพระเยาว์ ท้าวศรีสุดาจันทร์ พระราชมารดา จึงได้รับเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการ 

เมื่อสมเด็จพระยอดฟ้าสวรรคต ท้าวศรีสุดาจันทร์ในฐานะผู้สำเร็จราชการจึงได้ดำเนินการจัดตั้งพระราชพิธีราชาภิเษกขุนวรวงศาธิราช 

เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ด้วยเหตุที่มีความสัมพันธ์กันพิเศษเป็นการส่วนตัว

           ขุนวรวงศาธิราชอยู่ในตำแหน่งได้ ๔๒ วัน ก็ถูกขุนพิเรนทรเทพและคณะ กำจัดออกไปพร้อมกับท้าวศรีสุดาจันทร์



สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

           สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงพระนามเดิมว่า พระเฑียรราชา ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ และทรงเป็น 

พระอนุชาต่างพระชนนี ในสมเด็จพระไชยราชาธิราช เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๕ ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน 

คู่กันกับท้าวศรีสุดาจันทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระยอดฟ้า ต่อมาได้เสด็จออกผนวช ณ วัดราชประดิษฐาน

           เมื่อขุนพิเรนทรเทพและคณะ ได้กำจัดขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ เสร็จสิ้นแล้ว จึงได้อัญเชิญพระเฑียรราชา ให้ลาผนวชและ

ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๑๕ ของกรุงศรีอยุธยา 

พระองค์ได้สถาปนาพระมเหสีเป็นพระสุริโยทัย ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาสี่พระองค์คือ พระราเมศวร พระมหินทร พระวิสุทธิกษัตรี 

และพระเทพกษัตรี

           เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ทรงแต่งตั้งให้ขุนพิเรนทรเทพ เป็นพระมหาธรรมราชา ครองเมืองพิษณุโลก แล้วพระราชทาน

พระวิสุทธิกษัตรี ให้เป็นพระมเหสี ขุนอินทรเทพ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช หลวงศรียศ 

เป็นเจ้าพระยามหาเสนา ที่สมุหกลาโหม หมื่นราชเสน่หา เป็นเจ้าพระยามหาเทพ หมื่นราชเสน่หานอกราชการ เป็นพระยาภักดีนุชิต พระยาพิชัย

 เป็นเจ้าพระยาพิชัย พระยาสวรรคโลก เป็นเจ้าพระยาสวรรคโลก

           ในปี พ.ศ.๒๐๙๑ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ได้เพียงเจ็ดเดือน พระเจ้าหงสาวดี (พระเจ้าตะเบงชะเวตี้) ทรงทราบว่า 

ทางกรุงศรีอยุธยาผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เห็นเป็นโอกาสที่จะแผ่อำนาจมายังราชอาณาจักรไทย จึงได้ยกกองทัพใหญ่มาทางเมืองกาญจนบุรี

 ตั้งค่ายหลวงที่ตำบลกุ่มดอง  ทัพพระมหาอุปราชา ตั้งที่เพนียด ทัพพระเจ้าแปร ตั้งที่บ้านใหม่มะขามหย่อง ทัพพระยาพะสิม ตั้งอยู่ที่ตำบลทุ่งวรเชษฐ

 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เสด็จออกไปดูลาดเลากำลังศึก ณ ทุ่งภูเขาทอง พร้อมกับพระสุริโยทัย พระราเมศวร และพระมหินทราธิราช

 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้กระทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปร  ช้างพระที่นั่งเสียที สมเด็จพระสุริโยทัยจึงทรงไสช้างเข้าขวางช้างข้าศึก 

เพื่อป้องกันสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแปรได้ทีจึงฟันสมเด็จพระสุริโยทัยด้วยของ้าว สิ้นพระชนม์บนคอช้าง พระราเมศวรและพระมหินทรา ฯ

 ได้ขับช้างเข้ากันพระศพกลับเข้าพระนคร

           ในการต่อสู้กับข้าศึกในขั้นต่อไป สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้นำปืนใหญ่นารายณ์สังหาร ลงเรือสำเภาแล่นไปตามลำน้ำ

โจมตีข้าศึกที่ตั้งล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ อำนาจการยิงของปืนใหญ่ทำให้ฝ่ายพม่าล้มตายเป็นอันมาก ประกอบกับเป็นเวลาใกล้ฤดูฝน 

และเสบียงอาหารร่อยหรอลง อีกทั้งทางฝ่ายพม่าได้ข่าวว่า มีกองทัพไทยจากหัวเมืองเหนือยกมาสนับสนุน เกรงว่าจะถูกตีกระหนาบจึงยกทัพ

กลับทางด่านแม่ละเมา  กองทัพของพระมหาธรรมราชาและพระราเมศวร ไล่ติดตามไปจนเกือบถึงเมืองกำแพงเพชร ฝ่ายพม่าได้ทำอุบายซุ่มกำลัง

ไว้ทั้งสองข้างทาง พอกองทัพไทยถลำเข้าไป จึงได้เข้าล้อมไว้ จับได้ทั้งพระมหาธรรมราชา และพระราเมศวร สมเด็จพระมหาจักรพรรดิต้องทรง

ขอหย่าศึก และไถ่ตัวคืนโดยแลกกับช้างชนะงาสองเชือก

           ในระหว่างปี พ.ศ.๒๐๙๒ - ๒๑๐๖ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้ปรับปรุงกิจการทหาร และเสริมสร้างบ้านเมืองให้มั่นคง

แข็งแรงกว่าเดิม ยุทธศาสตร์ในการป้องกันคือ ใช้พระนครเป็นที่มั่น โปรดให้รื้อป้อมปราการตามหัวเมือง เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกอาศัยเป็นที่ตั้งมั่น

 ทรงสร้างกำแพงกรุงศรีอยุธยาด้วยการก่ออิฐถือปูน ขุดคลองมหานาคเป็นคูเมืองออกไปถึงชายทุ่งภูเขาทอง โปรดให้สำรวจบัญชีสำมะโนครัว

 ตามหัวเมืองในเขตชั้นในทุกหัวเมือง ทำให้ทราบจำนวนชายฉกรรจ์ที่สามารถทำการรบได้ โปรดให้สะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ พาหนะทั้งทางบก 

และทางน้ำเพื่อใช้ในสงคราม โปรดให้จับม้าและช้างเข้ามาใช้ในราชการ สามารถจับช้างเผือกได้ถึงเจ็ดเชือก จึงได้รับขนานพระนามว่า 

พระเจ้าช้างเผือกอีกพระนามหนึ่ง

           พระเจ้าบุเรงนอง  ผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเตะเบงชะเวตี้ ทราบเรื่องช้างเผือก จึงส่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาขอพระราชทานช้างเผือ

กสองเชือก สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงให้เหตุผลเชิงปฎิเสธ พระเจ้าบุเรงนองจึงถือสาเหตุนั้น ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา

 เมื่อปี พ.ศ.๒๑๐๖ ด้วยกำลังพลสองแสนคน จัดเป็นทัพกษัตริย์หกทัพ ได้เตรียมทัพเรือพร้อมปืนใหญ่กับจ้างชาวโปรตุเกสอาสาสมัคร ๔๐๐ คน 

เป็นทหารปืนใหญ่ ให้เมืองเชียงใหม่สนับสนุนเสบียงอาหาร โดยลำเลียงมาทางเรือ เปลี่ยนเส้นทางเดินทัพมาทางด่านแม่ละเมา เข้าตีหัวเมือง

เหนือของไทยมาตามลำดับเพื่อตัดกำลังที่จะยกมาช่วยกรุงศรีอยุธยา

           ฝ่ายไทยเตรียมตัวป้องกันพระนคร โดยคาดว่าพม่าจะยกกำลังมาทางด่านเจดีย์สามองค์ ทำให้พระเจ้าบุเรงนองตีเมืองกำแพงเพชร 

สวรรคโลก สุโขทัย พิชัย และพิษณุโลกได้ ครั้นลงมาถึงเมืองชัยนาท กองทัพพม่าก็ได้ปะทะกับกองทัพไทยของพระราเมศวร แต่ฝ่ายไทย

ต้านทานไม่ได้ต้องถอยกลับเข้ากรุงศรีอยุธยา กองทัพพม่าได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ แล้วระดมยิงปืนใหญ่เข้าในพระนครทุกวัน จนราษฎร์

ได้รับความเดือดร้อนและเสียขวัญ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ต้องเสด็จไปเจรจากับพระเจ้าบุเรงนอง ที่พลับพลาบริเวณตำบลวัดพระเมรุการาม

 กับวัดหัสดาวาส ยอมเป็นไมตรี โดยได้มอบช้างเผือกสี่เชือก พร้อมกับพระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงครามให้แก่พม่า

           หลังสงครามช้างเผีอกสิ้นสุดลง สมเด็จพระมหินทรา ผู้ทรงเป็นพระมหาอุปราชแทนพระราเมศวร ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจาก

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ที่เสด็จออกผนวช ต่อมาทรงเกรงว่าพระมหาธรรมราชาจะไปสนับสนุนพม่า พระองค์จึงทูลให้พระมหาจักรพรรดิ์

ให้ทรงลาผนวช แล้วกลับมาครองราชย์ตามเดิม ส่วนพระองค์เสด็จขึ้นไปเมืองพิษณุโลก ขณะที่พระมหาธรรมราชาเสด็จไปเมืองพม่าแล้ว

รับยรองพระวิสุทธิกษัตรีพร้อมด้วยพระราชนัดดามาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา  เมื่อพระมหาธรรมราชาทราบเรื่องจึงให้ไปเข้ากับพม่าอย่างเปิดเผย

           ในปี พ.ศ. ๒๑๑๑ พม่าได้ยกกองทัพใหญ่เจ็ดกองทัพ มีกำลังหาแสนคน เดินทัพเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ทั้งสี่ด้าน

 โดยมุ่งตีหักเข้ามาทางด้านทิศตะวันออก ซี่งเป็นด้านที่อ่อนแอที่สุด และใช้กำลังทางเรือปิดกั้นลำน้ำทางตอนใต้ เพื่อไม่ให้ฝ่ายไทยติดต่อ

กับหัวเมืองทางใต้และต่างประเทศ ฝ่ายไทยได้ต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ แต่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิประชวรและเสด็จสวรรคต 

ทำให้ราษฎรเสียขวัญ และกำลังใจกองทัพของ

พระเจ้าไชยเชษฐาที่ยกมาช่วย ถูกพม่าซุ่มโจมตีถอยกลับไป พระเจ้าบุเรงนองได้ทำอุบายให้พระยาจักรีที่พม่าขอไปพม่าในสงครามครั้งก่อน 

ลอบเข้ากรุงศรีอยุธยา เป็นไส้ศึกให้พม่า จนทำให้การป้องกันกรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลงไปตามลำดับ หลังจากพม่าล้อมกรุงอยู่เก้าเดือนก็

เสียกรุงแก่พม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒

           สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๑ ครองราชย์ได้ ๒๐ ปี



สมเด็จพระมหินทราธิราช

           สมเด็จพระมหินทราธิราช พระนามเดิม พระมหินทร์ หรือพระมหินท์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สอง ในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

กับสมเด็จพระสุริโยทัย เสด็จพระราชสมภพ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๘๒ มีพระเชษฐาคือ พระราเมศวร ผู้เป็นที่พระมหาอุปราช มีพระเชษฐภคินี

สองพระองค์คือ พระบรมดิลก กับพระสวัสดิราช (พระวิสุทธิกษัตรี) และพระขนิษฐาคือ พระเทพกษัตรี

           หลังสงครามกับพม่าที่เรียกว่าสงครามช้างเผือก ยุติลงในปี พ.ศ.๒๑๐๗ พระมหินทร์ซึ่งเป็นพระมหาอุปราชต่อจากพระราเมศวร 

ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งเสด็จออกผนวช

           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๑๑๑ สมเด็จพระมหินทร์ ฯ ได้ทูลขอให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิลาผนวช แล้วขึ้นครองราชสมบัติอีกครั้งเพื่อ

เตรียมรับศึกพม่า โดยพระเจ้าบุเรงนอง ได้ยกกองทัพเจ็ดกองทัพ มาทำสงครามกับไทย กองทัพพม่ายกเข้ามาทางด่านแม่ละเมา 

แล้วเข้าตีหัวเมืองทางเหนือ เพื่อตัดกำลังไม่ให้ส่งกองทัพเข้ามาช่วยกรุงศรีอยุธยา จากนั้นจึงได้เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้

           ในระหว่างการศึก สมเด็๋จพระมหาจักรพรรดิประชวรและเสด็จสวรรคต สมเด็จพระมหินทร์ ฯ จึงได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา 

พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่ได้ห้าเดือน ยังไม่สามารถตีหักเข้าไปได้ พระเจ้าบุเรงนองจึงออกอุบายเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระมหินทร์ ฯ 

ยอมเป็นไมตรี โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือขอตัวพระยาราม ผู้มีความสามารถรับผิดชอบการรักษาพระนครอย่างเข้มแข็ง สมเด็จพระมหินทร์ ฯ

 ทรงยินยอมมอบตัวพระยารามแก่พม่า แต่ทางพระเจ้าบุเรงนองกลับตระบัดสัตย์ ไม่ทำตามข้อตกลง และเร่งยกกำลังเข้าตีกรุงศรีอยุธยาหนักขึ้น

           ขณะนั้นใกล้ฤดูน้ำหลาก แต่พม่าก็ยังไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ จึงได้เกลี้ยกล่อมให้พระยาจักรีซึ่งทางพม่าขอตัวไปพร้อมกับ 

พระราเมศวรในสงครามกับพม่าครั้งก่อน เข้าเป็นไส้ศึกในกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหินทร์ ฯ ทรงเห็นว่าพระยาจักรีเคยเป็นแม่ทัพ 

ที่มีความสามารถในการศึกกับพม่าครั้งก่อน จึงทรงโปรดให้เป็นผู้จัดการป้องกันพระนคร ทัพพม่าจึงตีหักเข้าพระนครได้ 

เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๑๑๒ หลังจากล้อมพระนครไว้ถึงเก้าเดือน

           พม่าเข้ายึดทรัพย์สิน และกวาดต้อนผู้คนกลับไปพม่าเป็นจำนวนมาก รวมทั้งสมเด็จพระมหินทร์ ฯ พระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางน้อยใหญ่

 ก็ได้นำไปกรุงหงสาวดีด้วย

           สมเด็จพระมหินทร์ ฯ ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคตระหว่างทาง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ พระชนมายุได้สามสิบพรรษา ครองราชย์ได้ ๑ ปี



สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

           สมเด็จพระมหาธรรมราชาหรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๕๘ พระราชบิดา

เป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย พระราชมารดาเป็นพระญาติฝ่ายพระราชชนนี สมเด็จพระไชยราชาธิราช แห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ

 พระองค์ทรงรับราชการเป็นที่ขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมตำรวจรักษาพระองค์ หลังจากที่เหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักยุติลง และพระเฑียรราชา

ได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ แล้วขุนพิเรนทรเทพ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา แล้วได้รับ

โปรดเกล้าให้ไปครองเมืองพิษณุโลก สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีศักดิ์เทียบเท่าพระมหาอุปราช ได้รับพระราชทานพระวิสุทธิกษัตรี 

พระราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์เป็นพระอัครมเหสี ต่อมามีพระราชโอรสและพระราชธิดาสามพระองค์คือ

           พระสุพรรณเทวี หรือพระสุพรรณกัลยา ซึ่งต่อมาสมเด็จพระมหาธรรมราชา ได้ถวายเป็นพระมเหสีของพระเจ้าบุเรงนอง 

เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ เมื่อพระชนมพรรษาได้ ๑๗ พรรษา เพื่อขอสมเด็จพระนเรศวรมาช่วยงานของพระองค์

           องค์ที่สองคือ พระองค์ดำ หรือสมเด็จพระนเรศวร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๘ พระเจ้าบุเรงนองได้ขอไปอยู่ที่กรุงหงสาวดี 

ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๙ พรรษา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา สมเด็จพระมหาธรรมราชา ฯ ได้ขอตัวมาช่วยงานของพระองค์ และทรงตั้งให้

เป็นพระมหาอุปราช ไปครองเมืองพิษณุโลก ดูแลหัวเมืองเหนือทั้งปวง

           องค์ที่สามคือ พระองค์ขาว หรือพระเอกาทศรถ ประสูติเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๑๐ ในปี พ.ศ.๒๑๐๖ เกิดสงครามช้างเผือกกับพม่า 

สมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ป้องกันเมืองพิษณุโลกเป็นสามารถ ทางกรุงศรีอยุธยาส่งกำลังไปช่วยไม่ทัน พม่าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้จนเสบียง

อาหารในเมืองขาดแคลน จึงได้ยอมอ่อนน้อมต่อพม่า พระเจ้าบุเรงนองจึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระธรรมราชาเป็นพระศรีสรรเพชญ์ 

ครองเมืองพิษณุโลกดังเดิม แต่อยู่ในฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของพม่า กับขอสมเด็จพระนเรศวรไปอยู่ที่หงสาวดี

           ในปี พ.ศ.๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง โดยได้เกณฑ์หัวเมืองทางเหนือรวมทั้งเมืองพิษณุโลกมาร่วมสงครามด้วย

           ในวันศุกร์ขึ้นหกค่ำ เดือนสิบสอง ปีมะเส็ง พ.ศ.๒๑๑๒ พระเจ้าบุเรงนองได้อภิเษกให้สมเด็จพระมหาธรรมราชา ฯ 

ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะประเทศราช ทรงพระนามว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ บางแห่งเรียก พระสุธรรมราชา 

เป็นต้นราชวงศ์สุโขทัย

           สมเด็จพระมหาธรรมราชา ฯ ครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของพม่าอยู่ถึง ๑๕ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จพระนเรศวร 

องค์รัชทายาทก็ได้ทรงประกาศอิสระภาพ

           ในห้วงระยะเวลา ๑๐ ปี แรกในรัชสมัยของพระองค์ กัมพูชาได้ส่งกำลังมาโจมตีหัวเมืองทางตะวันออกและรุกเข้ามาถึงชานพระนคร 

แต่ฝ่ายไทยก็สามารถต่อสู้ขับไล่เขมรกลับไปได้ พระองค์ทรงเห็นเป็นโอกาสในการป้องกันพระนคร จึงได้บูรณะซ่อมแซมกำแพงและป้อมต่าง ๆ 

รอบพระนครให้แข็งแรงขึ้น กล่าวคือ ในปี พ.ศ. ๒๑๒๓ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคูพระนครทางด้านทิศตะวันออก หรือคูขี่อหน้า ซึ่งแต่เดิมแคบข้า

ศึกสามารถเข้ามาสู่พระนครได้สะดวกกว่าด้านอื่น โปรดเกล้า ฯ ให้รื้อกำแพงพระนครด้านทิศตะวันออก แล้วสร้างให้ไปจรดริมฝั่งแม่น้ำเช่นเดียวกับ

ด้านอื่น ๆ ทรงสร้างป้อมมหาชัย ตรงบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำป่าสัก ไหลมาบรรจบกัน และสร้างพระราชวังจันทร์เกษม (วังหน้า) 

สำหรับใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร ไว้คอยสกัดกั้นทัพข้าศึกที่เข้าโจมตีพระนครทางด้านทิศตะวันออก



สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

           สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรืออีกพระนามหนึ่งว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๓ หรือสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ์ 

เป็นพระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง มีพระเชษฐาคือ สมเด็จเจ้าฟ้าไชย มีพระอนุชาคือ เจ้าฟ้าอภัยทศ พระไตรภูวนาทิตยวงศ์ 

พระองค์ทอง และพระอินทราชา

           พระองค์ได้ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๙๙ เมื่อพระชนมายุได้ ๒๕ พรรษา พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ 

ที่ทรงพระปรึชาสามารถมาก ทำให้กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในทุกด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ

การต่างประเทศ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่องเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดี

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา

           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย เผยแพร่ศาสนาตลอดจนเข้ารับราชการ ทำให้ชาวตะวันตก

ยอมรับนับถือกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก

           ในด้านการค้าขาย ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งกว่าในรัชสมัยอื่น ๆ ทรงปรับปรุงกรมพระคลังสินค้า โปรดเกล้า ฯ 

ให้ต่อเรือกำปั่นหลวง เพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ จึงทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศ และต่อมาเมื่อ

เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ผู้เป็นชาวกรีกได้ช่วยปรับปรุงงานของกรมพระคลังสินค้าอีก ทำให้การค้าขายกับต่างประเทศ

เจริญรุ่งเรืองสูงสุด มีพ่อค้าชาวฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่า "ในชมพูทวีปไม่มีเมืองใดที่จะแลกเปลี่ยนสินค้ามากเท่ากับในสยาม สินค้าขายได้ดีมากในสยาม

และการซื้อขายใช้เงินสด สำหรับเมืองท่าของไทยในเวลานั้น มีอยู่หลายเมืองด้วยกัน ได้แก่ มะริด ตะนาวศรี ภูเก็ต ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช 

เพชรบุรี และบางกอก

           พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งบาทหลวงสามคนเดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อทั้งสามคนมาถึงแล้วก็ได้มีใบบอกไปยัง 

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และพระสันตปาปา ซึ่งมีความเห็นตรงกันว่าจะใช้กรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่คริสตศาสนา พระบาทหลวง

ได้ตั้งโรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ สมเด็จพระนารายณ์ทรงเห็นว่า เป็นการนำความเจริญมาให้กรุงศรีอยุธยา พระองค์ได้พระราชทานที่ดินให้สร้าง

วัดทางคริสตศาสนาด้วย

           ในปี พ.ศ.๒๒๒๔ สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงจัดคณะทูตนำพระราชสาสน์ไปเจริญทางพระราชไมตรี ณ ประเทศฝรั่งเศส 

แต่คณะราชทูตสูญหายไประหว่างทาง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๒๖ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดคณะทูตเดินทางไปฝรั่งเศสอีกครั้ง เพื่อสอบสวน

ความเป็นไปของทูตคณะแรก พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงทราบก็เข้าใจว่าสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงเลื่อมใสจะเข้ารีต จึงได้จัดคณะราชทูต

เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา โดยมีเชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ เป็นหัวหน้าคณะทูต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๘ ได้เข้าเฝ้า

สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทูลขอให้ทรงเข้ารีต แต่พระองค์ทรงปฏิเสธด้วยพระปรีชาสามารถว่า

           "การที่ผู้ใดจะนับถือศาสนาใดนั้น ย่อมแล้วแต่พระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์จะบันดาลให้เป็นไป  ถ้าคริสตศาสนาเป็นศาสนาดีจริงแล้ว

และเห็นว่าพระองค์สมควรที่จะเข้าเป็นคริสตศาสนิกแล้ว สักวันหนึ่งพระองค์จะถูกดลใจให้เข้ารีตจนได้"

           พระองค์ได้ให้เสรีภาพแก่ราษฎรทั่วไปที่จะนับถือคริสตศาสนาได้ตามความเลื่อมใสของตน ทำให้เชอวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พอใจ

           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๒๘ เมื่อคณะราชทูตฝรั่งเศสเดินทางกลับ พระองค์ก็ได้จัดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต

เดินทางไปฝรั่งเศส นำพระราชสาส์นของพระองค์ไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และได้ส่งกุลบุตร ๑๒ คน ไปศึกษาวิชาที่ประเทศฝรั่งเศส 

พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงโปรดปรานเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นอย่างมาก ได้ให้เหรียญที่ระลึก และเขียนรูปภาพเหตุการณ์ไว้ด้วย 

เมื่อคณะราชทูตเดินทางกลับ พระองค์ได้โปรดให้มองสิเออร์ เดอลาลูแบร์ เป็นราชทูตเข้ามากรุงศรีอยุธยา พร้อมกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)

 และได้นำทหารฝรั่งเศสจำนวน ๖๓๖ นาย เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาด้วย สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ทหารฝรั่งเศสจำนวนดังกล่าว

 ไปรักษาป้อมที่เมืองธนบุรีส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งมีกำลังสองกองร้อยให้ไปรักษาเมืองมะริด ซึ่งมีอังกฤษเป็นภัยคุกคามอยู่

           ในปี พ.ศ.๒๒๓๐ สมเด็จพระนารายณ์ทรงประกาศสงครามกับอังกฤษ เนื่องจากมีเหตุบาดหมางกันในเรื่องการค้าขายกับอินเดีย 

รัฐบาลอังกฤษให้บริษัทอังกฤษ เรียกตัวคนอังกฤษทั้งหมดที่รับราชการอยู่ ณ กรุงศรีอยุธยา ให้กลับประเทศอังกฤษ ต่อมาชาวอังกฤษได้มา

ก่อความวุ่นวายในเมืองมะริดและรุกรานไทยก่อน แต่ก็ไม่สามารถทำอะไรไทยได้  เนื่องจากขณะนั้นมีทหารฝรั่งเศสรักษาเมืองมะริดอยู่

           ในรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าจะมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ ที่เจริญรุ่งเรืองแล้วก็ตาม แต่ก็ได้มีการทำสงครามหลายครั้ง 

ครั้งที่สำคัญได้แก่ การยกกองทัพออกไปตีพม่าที่กรุงอังวะ ตามแบบอย่างที่สมเด็จพระนเรศวร ฯ ได้ทรงกระทำมาแล้วในอดีต และได้มี

การยกกองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่สองครั้งจนได้ชัยชนะ

           สมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๑ เมื่อพระชนมายุได้ ๕๐ พรรษา ครองราชย์ได้ ๓๒ ปี



สมเด็จพระเพทราชา

           สมเด็จพระเพทราชา เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๗๕ เดิมเป็นชาวบ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรี เข้ารับราชการเป็นจางวาง 

(เจ้ากรม) ในกรมพระคชบาล ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ ได้แสดงความสามารถในการศึกสงครามเป็นที่ปรากฏ ได้รับความไว้วาง

พระราชหฤทัยจากสมเด็จพระนารายณ์ ได้มีอำนาจและบทบาทในทางการเมือง และการปกครองของกรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก

           ในปี พ.ศ.๒๒๓๑ ปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ พระเพทราชา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ ขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ ฯ 

ประทับอยู่ที่ลพบุรี และทรงประชวรหนัก พระเพทราชาได้กำจัดพระปีย์ พระโอรสบุญธรรมในสมเด็จพระนารายณ์ ฯ แล้วจับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์

ประหารชีวิต และได้ส่งกำลังไปควบคุมทหารฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ที่ป้อมบางกอก คือ ป้อมวิชัยดิษฐ์ในปัจจุบัน

           เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จสวรรคต บรรดาข้าราชการได้อัญเชิญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาบุรุษ ฯ 

พระองค์ได้ทรงสถาปนาราชวงศ์ใหม่คือ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๒ พระชนมายุได้ ๕๖ พรรษา

           เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ก็ได้ขับไล่กำลังทหารฝรั่งเศสออกไปจากกรุงศรีอยุธยา แต่ยังทรงอนุญาตให้บาทหลวง และพ่อค้าชาวฝรั่งเศส

อาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาต่อไปได้ ได้มีการทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส เรื่องการขนย้ายทหาร และทรัพย์สินของฝรั่งเศสออกจากป้อมที่บางกอก 

โดยฝ่ายไทยเป็นผู้จัดเรือ กับต้องส่งคืนทรัพย์สิน ที่เป็นของกรุงศรีอยุธยาคืนทั้งหมด สำหรับข้าราชการและราษฎรไทย ที่ยังอยู่ในประเทศฝรั่งเศส 

ทางฝรั่งเศสจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา ผลการปฏิบัติดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฝรั่งเศส 

สิ้นสุดลงตั้งแต่นั้นมา

           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครองใหม่ โดยกำหนดให้หัวเมืองฝ่ายเหนืออยู่ในความดูแลของสมุหนายก 

และหัวเมืองฝ่ายใต้อยู่ในความดูแลของสมุหพระกลาโหม  โดยแบ่งให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบดูแลกิจการทั้งด้านทหารและพลเรือนในภูมิภาคนั้น ๆ

           นอกจากนี้พระองค์ยังได้เพิ่มจำนวนกำลังทหารให้แก่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า เพื่อเป็นกำลังป้องกันวังหลวงอีกทางหนึ่งด้วย

           ในด้านความสัมพันธ์กับหัวเมืองประเทศใกล้เคียง มีหัวเมืองประเทศใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา 

กล่าวคือในปี พ.ศ.๒๒๓๔ เขมรได้ส่งคณะราชทูตนำช้างเผือกเชือกหนึ่งมาถวาย  ขอเข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร ต่อมาในปี พ.ศ.๒๒๓๘

 พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุตได้ส่งราชทูตนำพระราชสาส์น และเครื่องราชบรรณาการเข้ามาถวาย กับขอให้กองทัพไทยไปช่วยต้านทาง

การรุกรานจากกองทัพหลวงพระบาง พระองค์ได้จัดกองทัพขึ้นไปช่วยไกล่เกลี่ย จนทั้งสองเมืองกลับเป็นไมตรีต่อกัน

           สมเด็จพระเพทราชา เส็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๔๖ พระชนมายุได้ ๗๑ พรรษา  ครองราชย์ได้ ๑๕ ปี 



สมด็จพระเจ้าเสือ

           สมเด็จพระเจ้าเสือ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๖ สมเด็จพระนารายณ์ ฯ 

โปรดให้พระเพทราชา เลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม ได้เข้ารับราชการในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฯ เป็นหลวงสรศักดิ์ ได้ร่วมกับพระเพทราชา 

กำจัดพระปีย์ และเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชได้

เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๔๖ พระชนมายุได้ ๔๐ พรรษา ทรงพระนามสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือสมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี 

และได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าฟ้าเพชร พระราชโอรสองค์ใหญ ่เป็นพระมหาอุปราช ที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และเจ้าฟ้าพร 

พระราชโอรสองค์รอง เป็นวังหลัง

           พระองค์รักการต่อสู้ มีความดุดันและห้าวหาญ จึงได้รับขนานพระนามว่า พระเจ้าเสือ สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๕๑ 

ครองราชย์ได้ ๕ ปี



สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

           สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เป็นพระราราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๒๒๑ พระนามเดิมเจ้าฟ้าเพชร 

ทรงได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราช ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ ได้ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๒๕๑

 ทรงพระนามสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ หรือสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

           ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ทรงระแวงพระทัยในเจ้าฟ้าพร พระราชอนุชา ผู้เป็นพระมหาอุปราช จึงทรงมีพระราชดำริที่จะยกราชยมบัติ

ให้เจ้าฟ้านเรนทร์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ แต่เจ้าฟ้านเรนทร์ทรงเกรงพระทัยเจ้าฟ้าพร จึงหาทางหลีกเลี่ยงโดยเสด็จออกผนวช สมเด็จพระเจ้า

ท้ายสระมีพระราชดำรัสว่า เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว ให้เจ้าฟ้าอภัย ผู้เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองขึ้นครองราชย์ ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต 

เจ้าฟ้าพรกับเจ้าฟ้าอภัย จึงได้แย่งราชสมบัติกัน ที่สุดเจ้าฟ้าพรได้ขึ้นครองราชย์

           ในรัชสมัยของพระองค์ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ขุดคลองมหาชัย เมื่อปี พ.ศ.๒๒๖๔ เพื่อเชื่อมต่อแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำท่าจีน ต่อจากที่ขุดค้าง

ไว้จนเสร็จ และได้ขุดคลองเกร็ดน้อย ซึ่งเป็นคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณลัดคุ้งปากคลองบางบัวทอง ปัจจุบันคือปากเกร็ด

           ในด้านการต่างประเทศ มีการส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับจีนถึงสี่ครั้ง ทำให้การค้าขายระหว่างไทยกับจีน ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

           ในปี พ.ศ.๒๒๔๔ เกิดความวุ่นวายในเขมร อันเนื่องจากการแย่งราชสมบัติกัน เจ้าเมืองละแวก ขอเข้ามาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร 

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ส่วนพระแก้วฟ้าผู้เป็นอนุชาฝักใฝ่อยู่กับฝ่ายญวน ซึ่งพยายามแผ่อำนาจเข้าไปในเขมร 

พระองค์ได้ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าไปถึงเมืองอุดรมีชีย ราชธานีของเขมร และได้เกลี้ยกล่อมให้พระแก้วฟ้ากลับมาอ่อนน้อมต่อไทย 

 เขมรจึงมีฐานะเป็นประเทศราชของไทยเช่นแต่ก่อน

           สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๒๗๕ พระชนมายุได้ ๕๔ พรรษา ครองราชย์ได้ ๒๕ ปี



สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

           สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าเสือ พระนามเดิม เจ้าฟ้าพร เป็นพระอนุชา สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ 

พระองค์ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระมหากษัตริย์ 

ทรงพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ นอกจากนั้นพระองค์ยังมีพระนามอื่นตามที่ปรากฎในเอกสารทางประวัติศาสตร์คือ 

สมเด็จพระรามาธิบดินทร ฯ สมเด็จพระรามาธิบดี ฯ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุธรรมราชา ฯ และสมเด็จพระบรมราชา ทางฝ่ายพม่าเรียกว่า 

พระมหาธรรมราชา

           ในรัชสมัยของพระองค์พุทธศาสนาเฟื่องฟูมาก พระองค์ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก โปรดเกล้า ฯ 

ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามทั้งในกรุงศรีอยุธยาและในบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดป่าโมก วัดหันตรา วัดภูเขาทอง

 และวัดพระราม  โปรดเกล้า ฯ ให้ซ่อมเศียรพระประธานวัดมงคลบพิตร ที่ชำรุดอยู่ ทรงให้ความสำคัญในการศึกษาทางพุทธศาสนาเป็นพิเศษ 

ผู้ที่ถวายตัวเข้ารับราชการต้องผ่านการบวชเรียนมาแล้ว

           ในปี พ.ศ.๒๒๙๖ พระเจ้ากีรติสิริราชสิงห์ กษัตริย์ลังกา ทรงทราบกิตติศัพท์ว่าพระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองมาก 

จึงได้ส่งราชทูตมาขอพระมหาเถระ และคณะสงฆ์ไปช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ซึ่งเสื่อมโทรมลงไป เนื่องจากกษัตริย์ลังกาองค์ก่อน 

หันไปนับถือศาสนาพราหมณ์ และทำลายพุทธศาสนา จนกระทั่งไม่มีพระสงฆ์เหลืออยู่ในลังกา สมเด็จพระเจ้าบรมโกษ จึงโปรดให้ส่งคณะสมณทูต

ประกอบด้วยพระราชาคณะสองรูปคือ พระอุบาลี และพระอริยมุนี พร้อมคณะสงฆ์อีก ๑๒ รูป ไปลังกา เพื่อประกอบพิธีบรรพชา อุปสมบท

 ให้กับชาวลังกา คณะสงฆ์คณะนี้ได้ไปตั้งนิกายสยามวงศ์ขึ้นในลังกา หลังจากที่ได้ช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา เป็นเวลาเจ็ดปีแล้ว 

คณะสงฆ์คณะนี้บางส่วนได้เดินทางกลับกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๓

           สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๑ พระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา ครองราชย์ได้ ๒๖ ปี



สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร

           สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร เป็นพระราชโอรสองค์รองในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิมเจ้าฟ้าดอกเดื่อ ต่อมาได้ทรงกรมเป็น 

กรมขุนพรพินิต มีพระเชษฐาคือ เจ้าฟ้าเอกทัศน์ (กรมขุนอนุรักษ์มนตรี) หลังจากเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ซึ่งเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล 

สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๘๙ แล้วสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ มิได้ทรงแต่งตั้งพระราชโอรสองค์ใด ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชแทน เป็นเวลาถึง ๑๑ ปี 

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๐ จึงทรงตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ด้วยทรงเห็นว่าทรงพระปรีชา มีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาด

           เมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ สวรรคต เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตได้ขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๑ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔

 แต่ก่อนหน้าที่จะมีพิธีบรมราชาภิเษกนั้น ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบและพระอนุชาต่างพระมารดาสามองค์ คือ กรมหมื่นจิตรสุนทร กรมหมื่นสุนทรเทพ

 และกรมหมื่นเสพภักดี ได้พยายามแย่งชิงราชสมบัติ แต่สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ทรงขอให้พระราชาคณะเกลี้ยกล่อมจนสำเร็จ และพระองค์

ได้ราชาภิเษกขึ้นครองราชย์

           เมื่อพระองค์ครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษ ก็ทรงสละราชย์สมบัติแล้ว ถวายราชสมบัติแก่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี ผู้เป็นพระเชษฐา 

แล้วพระองค์เสด็จออกผนวช โดยประทับอยู่ที่วัดประดู่โรงธรรม



สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์)

           พระเจ้าเอกทัศน์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระนามเดิม เจ้าฟ้าเอกทัศน์ ต่อมาได้ทรงกรมเป็น 

กรมขุนอนุรักษ์มนตรี

           หลักจากที่สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เสด็จสวรรคตแล้ว สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ได้ขึ้นครองราชย์ แต่เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี 

แสดงพระองค์ว่าต้องการขึ้นครองราชย์ และเสด็จเข้าประทับ ณ พระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ยอมสละราชสมบัติ

ถวายพระเชษฐาและเสด็จออกผนวช เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี จึงเสด็จขึ้นครองราชย ์เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๑ ทรงพระนาม 

สมเด็จพระบรมราชามหาดิศร ฯ แต่คนส่วนใหญ่มักขานพระนามว่า สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาบรินทร

 และพระเจ้าเอกทัศน์

           ในระหว่างที่พระองค์ครองราชย์พม่าได้ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๓ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้ทรงขอให้

พระเจ้าอุทุมพรลาผนวช ออกมาช่วยบัญชาการรบ พระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ที่ยกทัพมาได้รับบาดเจ็บจากปืนใหญ่ ต้องยกทัพกลับ 

และสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง

           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๗ พระเจ้ามังระ โอรสพระเจ้าอลองพญา กษัตริย์พม่า ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ ได้ส่งกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีก

 โดยได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานานถึง ปีกับสองเดือน ก็เข้าตีพระนครได้ เมื่อวันที่ ๑๓ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๓๑๐ ตรงกับวันอังคาร ขึ้นเก้าค่ำ เดือนห้า

 ปีกุน สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ได้เสด็จหนีไปซ่อนตัวที่ป่าบ้านจิก ใกล้วัดสังฆาวาส ต้องอดอาหารกว่า ๑๐ วัน และเสด็จสวรรคต


 เมื่อพม่าเชิญเสด็จไปที่ค่ายโพธิสามต้น พม่าได้นำพระบรมศพไปฝังไว้ที่โคกพระเมรุ หน้าพระวิหารพระมงคลบพิตร